Skip to content

หงส์หามเต่า บนพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนคร

หงส์หามเต่า
บนพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนคร

แถบสีแดงบนองค์พระบรมธาตุเจดีย์
หลักฐานชี้ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา
ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.

มาลัยก้านฉัตร

แถบสีแดงที่ว่านี้เรียกว่า “มาลัยก้านฉัตร”
ปรากฏ ณ ตำแหน่งขอบล่างสุดของปล้องไฉน
เหนือพระเวียนที่เสาหารหน้ากระดาน
เมื่อสังเกตอย่างตั้งใจจะเห็นได้ชัดขึ้นว่า
คล้ายกับเป็นรูปของสัตว์ปีกในอากัปกิริยาต่างๆ วนไปโดยรอบ
.
พระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับเจดีย์รูปทรงเดียวกันในประเทศไทยโดยเฉพาะคาบสมุทรมลายู อาจเพราะการเป็นต้นแบบทางความคิดประการหนึ่ง นัยยะทางคติความเชื่อพื้นถิ่น และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บางประการ อาทิ การประดับเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์และสังคโลก เสายูปะ การหุ้มปลียอดด้วยทองคำ และการประดับสาแหรกแก้วหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ที่ส่วนยอดสุด จึงอาจกล่าวได้ว่าลักษณะพิเศษจำเพาะเหล่านี้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญประการหนึ่งอันเป็นเอกลักษณ์
.

กัจฉปชาดก

เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ ข้าพเจ้าได้ร่วมสังเกตการณ์กับคณะสำรวจโครงสร้างภายในองค์พระบรมธาตุเจดีย์ด้วยเครื่อง GPR จึงได้เก็บข้อมูลรูปภาพ ณ ตำแหน่งมาลัยก้านฉัตรโดยรอบมาเพื่อศึกษา พบว่า ภาพเหล่านั้นเป็นตอนหนึ่งของนิทานปัญจตันตระ เรื่องหงส์หามเต่า หรือในพระพุทธศาสนารู้จักกันดีในชื่อ “กัจฉปชาดก”
.
ฉากสำคัญของเรื่องคือฉากที่มีหงส์สองตัวคาบกิ่งไม้อยู่ซ้ายขวา แล้วมีเต่าคาบกิ่งไม้อีกทอดหนึ่งตรงกลางลำ ซึ่งฉากนี้พบที่ผนังเชิงบันไดของวิหารจันทิเมนดุด ใกล้บุโรพุทโธ แถบชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย และฐานของมหาวิหารนาลันทา ประเทศอินเดีย
.
หากให้พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทนของเมืองนครศรีธรรมราช มหาวิหารนาลันทาของอินเดีย และจันทิเมนดุดของชวา สังเกตวิธีการจับกิ่งไม้ของหงส์ ๓ พื้นที่ได้ว่า นครศรีธรรมราชใช้ปากคาบ อินเดียใช้ปากคาบ ชวาใช้กรงเล็บเหนี่ยว ซึ่งอาจชี้ว่า คตินี้นครศรีธรรมราชอาจรับมาจากแหล่งกำเนิดของคติโดยตรง และเป็นคติร่วมกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีนิทานนางตันไตเป็นวรรณกรรมท้องถิ่น จึงมักพบหน้าบันของศาสนสถานแสดงภาพตอนนกหรือหงส์คาบกิ่งไม้นี้อยู่ด้วย
.
ส่วนถ้าจะพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างจันทิเมนดุตกับพระบรมธาตุเจดีย์ อาจต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ราชวงศ์ไศเลนทร์” ผู้ก่อตั้งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่ง ณ จุดเวลาหนึ่ง นครศรีธรรมราชเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธรัฐ เพราะกษัตริย์พระองค์หนึ่งในราชวงศ์ดังกล่าวนั้น เป็นผู้สร้างบุโรพุทโธกับทั้งจันทิเมนดุต โดยอาจใช้ภาพกัจฉปชาดกที่เป็นรอยร่วมกันนี้ประกอบการศึกษา
.
ความในกัจฉปชาดก ภาพ กับข้อสังเกตอื่น
อ่านเพิ่มเติมใน