ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลโกโก้ จากสวนโกโก้ธวัชชัย ของดี อำเภอท่าศาลา

สวนโกโก้ธวัชชัย ผลิตภัณฑ์จากผลโกโก้ ของดี ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอท่าศาลาเป็นพื้นที่ที่ปลูกโกโก้เยอะที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช และถ้าหากมาเที่ยวอำเภอท่าศาลาแล้วยังไม่มีของฝากกลับไป วันนี้แอดมินก็ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากโกโก้ จากสวนโกโก้ธวัชชัยนะคะ

 

    เรามาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของสวนโกโก้ธวัชชัยกันนะคะ คุณธวัชชัย เสพย์ธรรม เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งด้านการปลูกและการหมักโกโก้โดยวิธีการโบราณจากรุ่นพ่อแม่ โดยภายในบริเวณรายล้อมไปด้วยต้นโกโก้ดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ ปี 2535 จนปัจจุบันมีการเรียนรู้เพิ่มเติมและประยุกต์ใช้วิธีการหมักทั้งแบบโบราณ และแบบใหม่ปรับเปลี่ยนจนมีเทคนิคเอกลักษณ์ของตัวเอง และกลายมาเป็นเกษตรกรที่หันมาสนใจแปรรูปโกโก้รายแรกๆ ของท่าศาลา

พิกัด 8.7717,99.92276 บ้านเลขที่ 264 หมู่ 5 ตำบล สระแก้ว อำเภอ ท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช   https://bit.ly/3swRqMl

 

    ภายในสวนจะมีต้นโกโก้ให้เห็นเป็นจำนวนมากค่ะ เป็นต้นโกโก้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี พี่จิ๋มเจ้าของสวนพาเดินชมต้นโกโก้ พร้อมพูดคุยกันถึงเรื่องโกโก้ การปลูกการดูแลการหมักและการแปรรูป สวนโกโก้ธวัชชัยแปรรูปแบบโฮมเมด ทำกันในครอบครัวตามกำลังและความสามารถของคนในครอบครัว ใช้ความใส่ใจความรักในโกโก้ทำด้วยความสุข และเมื่อแอดมินได้ลองชิมโกโก้ร้อนที่พี่จิ๋มทำให้ชิมทำให้แอดมินได้รู้สึกถึงความใส่ใจในทุกขั้นตอน และรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้นั่งดื่มโกโก้ในสวนของบ้านตัวเอง โกโก้มีกลิ่นหอมมากถึงความใส่ใจในทุกขั้นตอน และรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้นั่งดื่มโกโก้ในสวนของบ้านตัวเอง โกโก้มีกลิ่นหอมมาก

บริเวณหน้าบ้านจะเป็นลานตากเมล็ดโกโก้ ตากเมล็ดโกโก้ให้แห้งเพื่อที่จะนำมาแปรรูปต่อไป

   

การแปรรูป

  1. โกโก้นิปส์ (Cocoa nibs) เมล็ดโกโก้ที่ผ่านการหมักและตากเรียบร้อยแล้ว สามารถนำมาคั่วหรืออบที่อุณหภูมิประมาณ 150 องศาไม่เกิน 15 นาที จะได้เมล็ดโกโก้คั่วสุก ที่เรียกว่าโกโก้นิปส์ (Coca nibs)ถือเป็นโกโก้แท้100% สามารถรับประทานเป็นของขบเคี้ยวได้ทันที
  2. เปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้ (Cocoa brew) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากเปลือกหุ้มเหม็ดที่ผ่านการตากและคั่วแล้ว สามารถนำมาใช้ทำชาสมุนไพร ให้กลิ่นหอม
  3. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อโกโก้ (Coca liquor หรือ Coca mass) เป็นการนำเอาเมล็ดที่คั่วเรียบร้อนแล้วมาแกะหรือกะเทาะเปลือกออก จากนั้นนำมาทำการบด ด้วยครกหรือหินโม่บด จนกลายเป็นเนื้อเดียวกันได้ของเหลวที่เป็นโกโก้แท้100%สามารถนำมาเติมน้ำตาบออร์แกนิกส์ตามชอบเทลงพิมพ์กลายเป็นคราฟช็อคโกแลตหรือช็อดโกแลตโฮมเมด
  4. เนยโกโก้ (Cocoa butter) และโกโก้ผง (Cocoa powder) เกิดจากการนำเมล็ดโกโก้ที่คั่วและกะเทาะเปลือกแล้ว มาผ่านเครื่องแยกน้ำมันจะได้ผลิตภัณฑ์ส่วนที่เป็นของเหลวแยกส่วนที่เป็นน้ำมันออกมาเรียกว่าเนยโกโก้ ใช้ในส่วนผสมของอาหารและเครื่องสำอางค์ ส่วนที่เป็นเนื้อโกโก้จะกลายเป็นเนื้อสีน้ำตาลแยกออกมาจากน้ำมันนำไปผ่านการขึ้นละเอียดอีกครั้งกลายเป็นผงโกโก้นำไปเป็นส่วนประกอบของขนมต่างๆ

ผลิตภัณฑ์โกโก้โฮมเมดแบบนี้อาจจะมีรสชาติที่ต่างไปจากโกโก้หรือช็อคโกแลตที่หลายๆท่านเคยทาน แต่ถ้าหากลองเปิดใจซื้อมาลองชิมรับรองเลยค่ะ ว่าทุกท่านจะต้องติดใจไปกับรสชาติและความเป็นโฮมเมดของผลิตภัณฑ์โกโก้จากสวนธวัชชัย

เที่ยวสวนโกโก้แล้วอย่าลืมแวะขอพรไอ้ไข่วัดเจดีย์

    และเมื่อเราอิ่มกลายอิ่มท้องแล้ว ถ้าจะให้ครบจบเราต้องอิ่มใจด้วยนะคะ และสถานที่ใกล้สวนโกโก้ธวัชชัยที่จะทำให้ทุกท่านอิ่มใจพร้อมทั้งอิ่มบุญไปด้วยก็คือ วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) เป็นวัดชื่อดังที่ไม่มีใครไม่รู้จัก สายมูทั้งหลายอย่ารอช้านะคะ เริ่มเลยค่ะมาทำบุญและอาจจะขอพรหรือบนบานศาลกล่าวกับไอ้ไข่ แอบกระซิบว่าศักดิ์สิทธ์มากใครที่มาขอพรหรือบนบานส่วนมากจะได้ผลตามที่ขอ แต่หากได้รับผลตามที่ขอไว้ก็อย่าลืมกลับมาแก้บนตามที่บอกกับไอ้ไข่ไว้นะคะ และบางวันอาจจะได้ชมการแสดงมโนราห์ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามของภาคใต้ค่ะ

ชมคลิป VDO

สวนวลัยลักษณ์และ5กิจกรรมในสวนวลัยลักษณ์

นครศรีสเตชชั่นแนะนำที่เที่ยวครั้งนี้  เราจะพาพี่ๆน้อง ๆ และนักท่องเที่ยวทุกท่านไปเที่ยวกันที่สวนวลัยลักษณ์ หรือ WU PARK และวันนี้แอดมินจะมานำเสนอ5กิจกรรมที่ทำเมื่อไปสวนวลัยลักษณ์มีกิจกรรมอะไรบ้างไปดูกันเลย..

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสวนวลัยลักษณ์ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ?

 

ด้วยแนวคิดหลักของ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแผ่นดินแห่งความรุ่งโรจน์ Walailak Land of Glory จึงเกิดเป็นสวนวลัยลักษณ์  สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2560-2561 เป็นสวนสาธารณะที่เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งคณาจารย์ พนักงานและนักศึกษา พี่น้องประชาชนชาวอำเภอท่าศาลา ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและใกล้เคียง ตลอดจนผู้ที่มาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยจากในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้มีการเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สวนวลัยลักษณ์จะเป็นแหล่งให้ผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ ได้พักผ่อน สร้างความสดชื่นได้ทั้งกายและใจ

 

สวนวลัยลักษณ์ ตั้งอยู่บริเวณถนนทางเข้ามหาวิทยาลัย ตรงข้ามกับโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 255 ไร่ แบ่งเป็นผืนน้ำ 130 ไร่และผืนดิน 125 ไร่ โดยภายในสวนวลัยลักษณ์จะมีจุดเด่นอยู่ที่ลานมโนราห์สีทอง มีระเบียงน้ำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนได้นั่งพักผ่อน ให้อาหารปลา พร้อมนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินผ่านภูเขาหลวงซึ่งเป็นทัศนียภาพ ที่งดงามยิ่งเป็นเบื้องหลัง

 

นอกจากนี้ยังมีความร่มรื่นเขียวขจีของต้นไม้นานาชนิดและไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ มีการจัดสวนรูปแบบต่างๆ สวนอังกฤษ สวนญี่ปุ่น ลานมโนราห์สี รูปปั้นโขลงช้าง น้ำพุนกฮูก เส้นทางการวิ่ง เส้นทางการปั่นจักรยาน และที่โด่งดังและท้าทายมากคือ เขาวงกต “เข้าแล้ว ออกได้หรือไม่?”

5กิจกรรมที่ทำเมื่อมาเที่ยวสวนวลัยลักษณ์

กิจกรรมที่1 วิ่งออกกำลังกาย

เปิดให้ผู้คนทั่วไปได้วิ่งออกกำลังชมความเขียวขจีของต้นไม้และรับอากาศบริสุทธ์ของสวนวลัยลักษณ์ มีทั้งเส้นทางการเดิน-วิ่งทั่วทั้งสวน เหมาะแก่การไปออกกำลังกายชิวสุดๆ

กิจกรรมที่ 2 ปั่นจักรยาน

 

ปั่นจักรยานผ่านสวนวลัยลักษณ์ชมความเขียวขจีขแงต้นไม้นานาชนิดและรับลมธรรมชาติทั่วทั้งสวน มีเส้นทางจักณยานพาดทั่วทั้งสวนเป็นแนวยาวตลอดสายจะมีวิวทิวทัศน์ที่ทำให้เพลิดเพลินกับการปั่นจักรยานสุดๆ

กิจกรรมที่ 3 ปั่นเรือเป็ดและให้อาหารปลา

เป็นอีก 1 กิจกรรมสำหรับการมาพักผ่อนหย่อนใจของผู้ที่มาเที่ยวสวน กิจกรรมที่สนุกและท้าทาย มีทั้งการให้อาหารปลาควบคู่ไปกับวิวที่สวยงามของทะเลสาบในสวน และปล่อยใจให้ผ่อนคลายกับสถานที่พักผ่อน มีร้านขายขนมให้ได้เบือกซื้อนั่งทานชมความสวยงาม

กิจกรรมที่4 มาพักผ่อนกับครอบครัว

สวนวลัยลักษณ์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถมาเที่ยวกับครอบครัวได้ มาทำกิจกรรมร่วมกันไม่ว่าจะเป็นการทานข้าวข้างนอก ริมทะเลสาบในสวน การพาเด็กๆมาวิ่งเล่น จนกระทั่งผู้สูงอายุ พามาผ่อนคลายความเครียด หรือเปลี่ยนที่ถ่ายรูป รับลมเย็นๆกับบรรยากาศที่ร่มรื่นเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลยค่ะ

กิจกรรมที่ 5 ชมวิวพระอาทิตย์ตก

เป็นอีกที่ในสวนที่ห้ามพลาดเด็ดขาดเนื่องจากวิวตรงนี้สวยมากๆแอดมินแนะนำสุดๆ ระเบียงริมทะเลสาบกับวิวพระอาทิตย์ตกดินที่สีสวยมากๆพักผ่านเทือกเขาหลวงที่เห็นได้ชัดสุดๆ

ใครผ่านไปผ่านมาอย่าลืมแวะเวียนเข้ามาเที่ยวสวนวลัยลักษณ์ ปักหมุดที่เที่ยวใหม่ๆ เตรียมกล้อง สะพายกระเป๋าแล้วมาเที่ยวกันที่สวนวลัยลักษณ์กันนะคะ

 

ข้อปฏิบัติการใช้สวนวลัยลักษณ์

  1. วันเวลาเปิด-ปิดทำการ เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึงเวลา 20.00 น.
  2. สวนวลัยลักษณ์แห่งใช้เพื่อการออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ หรือทำกิจกรรมนันทนาการตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  3. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย สวน เพื่อการออกกำลังกายให้ระวังอุบัติเหตุพลัดตกลงไปในบ่อน้ำ หรืออุบัติเหตุอื่น หากเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินมหาวิทยาลัยจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น
  4. ให้ช่วยกันรักษาความสะอาดบริเวณสวน และทรัพย์สินทุกชนิดภายในสวนและไม่ทำลายทรัพย์สินด้วยประการใดๆ
  5. ให้ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อห้าม หลักเกณฑ์ คำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยโดยเคร่งครัด

ข้อห้าม

  • ห้ามนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าในพื้นที่สวนวลัยลักษณ์โดยเด็ดขาด
  • ห้ามเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ตกแต่งสวนและต้นไม้ภายในสวน
  • ห้ามปล่อยปลาชะโดลงในแหล่งน้ำ
  • ห้ามเข้าในห้องปั๊มหลังน้ำตก
  • ห้ามปีนช้างและห้าเข้าในบริเวณช้าง
  • ห้ามปีนมโนราห์
  • ห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิด
  • ห้ามเข้าเขาวงกตในช่วงเวลา 18.00 – 08.00 น.
  • ห้ามปีนต้นไม้ และเก็บลูกมะพร้าว
  • ห้ามนำต้นไม้และอุปกรณ์ตกแต่งสวนออกจากสวนโดยเด็ดขาด
  • ห้ามเปิดน้ำพุ น้ำตก ระบน้ำในสวนและระบบไฟหากไม่ได้รับอนุญาติ
  • ห้ามใช้สวนวลัยลักษณ์หลังเวลา 20.00 – 05.00 น.
  • ห้ามผู้ใด ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายในสวน
  • ห้ามผู้ใด เล่นฟุตบอล ตะกร้อ หรือกีฬาใดๆในสวน เว้นแต่เป็นการเล่นในสถานที่จัดไว้โดยเฉพาะ
  • ห้ามผู้ใด เล่นการพนัน เสพสุรา ของมึนเมาและสารเสพติดทุกชนิดในบริเวณที่สวน
  • ห้ามผู้ใด นำ พกพา อาวุธ ทุกชนิด ยิงปืน หรือใช้ดินระเบิด จุดปะทัด หรือก่อการทะเลาะวิวาทในบริเวณสวน
  • ห้ามผู้ใด ลักขโมยทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยภายในบริเวณสวน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ประวัติอำเภอท่าศาลา ฉบับมหาดไทยส่วนภูมิภาค

ประวัติอำเภอท่าศาลา
ฉบับมหาดไทยส่วนภูมิภาค

 

เหตุที่ได้จั่วหัวว่าเป็น “ฉบับมหาดไทยส่วนภูมิภาค” นั้น ด้วยคัดมาจากหนังสือ “ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครศรีธรรมราช” ซึ่งเข้าใจเอาจากคำนำในเล่มว่าเป็นข้อสั่งการจากกระทรวงมหาดไทยถึงจังหวัดทุกจังหวัด ให้รวบรวมและเรียบเรียงเหตุการณ์สำคัญ เอกสาร ความเป็นมา ภูมิประเทศ สถานที่และบุคคลสำคัญของจังหวัดต่าง ๆ เป็นสารบบ มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการท้องถิ่น ได้แก่ วิมล ดำศรี, วิเชียร ณ นคร, ประหยัด เกษม, สมพุทธ ธุระเจน และฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ เป็นคณะทำงาน โดยที่ น้อม อุปรมัย, กระจ่าง คีรินทร์นนท์ และขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นที่ปรึกษา

.

หนังสือดังกล่าว แบ่งเป็น 8 บท ได้แก่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ประวัติอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประวัติความเป็นมา ประวัติเทศบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช บุคคลสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประวัติสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทำเนียบนามผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

.

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำเภอปากท่าศาลานั้น ปรากฏอยู่ในบทที่ 3 “ประวัติอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช” โดยจะได้คัดมาเผยแพร่ดังต่อไปนี้ (แบ่งวรรคตอนและย่อหน้าใหม่รวมถึงปรับคำบางช่วงตอนเพื่อสะดวกต่อการอ่าน แต่ยังคงสาระสำคัญไว้ตามต้นฉบับทุกประการ ประกอบกับในชั้นนี้จะยังไม่มีบทวิเคราะห์ข้อมูลใดๆ)

 

ท่าศาลา จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช

ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชระบุว่า เจ้าศรีมหาราชาบุตรพระพนมวังและนางเสดียงทอง เจ้าเมืองเวียงสระได้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อยกไพร่พลเข้าตั้งอยู่ในเมืองเรียบร้อยแล้ว คิดจำทการซ่อมแซมพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช จึงได้ส่งคนออกมาทำนาที่ทุ่งกระโดน (ตำบลท่าศาลา) ทุ่งหนองไผ่ (ตำบลท่าขึ้น) และทำนารักษาพระที่วัดนางตรา (ตำบลท่าศาลา) และให้คนเข้าไปอยู่บ้านกรุงชิง

.

ส่วนในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งรัชกาลที่ 2 ระบุถึงท้องที่ต่าง ๆ ในอำเภอนี้ ได้ตั้งเป็นบ้านเมืองมาตั้งแต่สมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มีนายที่ปกครองหลายตำบล คือที่ตำบลไทยบุรี ออกหลวงไทยบุรีศรีมหาสงคราม ศักดินา 1,200 ไร่ ฝ่ายซ้ายที่ตำบลนบพิตำ นายที่ชื่อขุนเดชธานี ที่กลาย นายที่ชื่อขุนสัณห์ธานี

.

บรรดานายที่เหล่านั้น ปรากฏว่าที่ไทยบุรีเป็นแขวงใหญ่กว่าที่อื่น นายที่มีตราประจำตำแหน่งเป็นรูปโค เครื่องยศมีช้างพลาย 1 จำลอง 1 ทวน 1 ขวด 1 แหลน 20 ปืนนกสับหลังช้าง 1 กระบอก ปืนนกสับเชลยศักดิ์ 6 กระบอก ปืนกระสุนนิ้วกึ่งเชลยศักดิ์ 1 กระบอก หอกเขต 15 ทวนเท้า 6 และได้รับพระราชทานไพร่เลวที่ไทยบุรี ได้รับพระราชทานค่าคำนับฤชาภาษีส่วย มีกรมการคือขุนราชบุรี เป็นรองนายที่ หมื่นเทพบุรี เป็นสมุห์บัญชี หมื่นบาลบุรี เป็นสมุห์บัญชี หมื่นสิทธิสารวัด เป็นสารวัตร เมืองท่าสูง เมืองเพ็ชรชลธี ขึ้นไทยบุรี และบ้านเปียน บ้านปากลง บ้านกรุงบาง ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาตำบลนบพิตำ ชาวบ้านได้หนีสักเมื่อครั้งรัชกาลที่ 2 เข้าไปตั้งบ้านเรียนหลบซ่อนอยู่ บัดนี้กลายเป็นหมู่บ้านและตำบลนบพิตำ

.

เมื่อครั้งรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แขกเมืองไทรบุรีเป็นขบถตั้งแข็งเมือง เจ้าเมืองนครต้องยกทัพออกไปทำการปราบปราม ออกหลวงไทยบุรีศรีมหาสงคราม นายที่ไทยบุรี ได้ยกกองทัพไปช่วยเมืองนครทำการปราบปรามด้วย เดินทัพจากไทยบุรีไปยังนครศรีธรรมราช ทางที่ออกหลวงไทยบุรีเดินทัดนี้ ต่อมาชาวบ้านเรียกว่าทางทัพหลวงไทย เป็นทางด่วนสาธารณะกั้นเขตแดนระหว่างตำบลไทยบุรีกับตำบลกะหรอปัจจุบัน

.

นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาดังกล่าวข้างต้น อาจทราบได้จากโบราณสถาน วัดวาอารามต่าง ๆ ในท้องที่ เช่น วัดนางตรา และวัดโมคลาน ซึ่งเป็นโบราณสถานที่นักโบราณคดีประมาณอายุว่าสร้างในราว พ.ศ.1400 – 1800 เป็นวัดร้างไประยะหนึ่ง เนื่องจากภัยสงครามเมื่อครั้งพม่ามาตีเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยรัชกาลที่ 1 เพราะที่ตั้งวัดอยู่ใกล้เส้นทางเดินทัพพม่า

.

อำเภอกลาย

พุทธศักราช 2430 ได้รวบรวมท้องที่ต่าง ๆ ตั้งเป็น “อำเภอกลาย” มี 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าศาลา ท่าขึ้น สระแก้ว กลาย ไทยบุรี กะหรอ นบพิตำ หัวตะพาน โมคลาน ดอนตะโก นายอำเภอคนแรกชื่อนายเจริญ ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ริมทะเลบ้านปากน้ำท่าสูง และย้ายไปตั้งที่วัดชลธาราม (วัดเตาหม้อ) ครั้งสุดท้ายย้ายมาตั้งที่ตลาดท่าศาลา ต่อมาในปี 2459 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกลายเป็น “อำเภอท่าศาลา”

.

ท่าศาลา

ชื่ออำเภอนั้น ตั้งตามชื่อหมู่บ้านที่ตั้งที่ว่าการอำเภอท่าศาลา คือบ้านท่าศาลา บ้านท่าศาลานี้ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา ซึ่งเป็นคลองเล็กแยกมาจากคลองท่าสูง เป็นท่าจอดเรือสินค้าจากต่างเมือง ที่ท่าเรือมีศาลาพักร้อนปลูกอยู่หนึ่งหลัง เดิมเป็นศาลาชั่วคราวมุงจาก ต่อมาปลูกเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยา มุงสังกะสี ครั้น พ.ศ.2510 ได้รื้อศาลานี้ปลูกใหม่เป็นทรงไทย มุงกระเบื้อง พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหินขัด กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร โดยบริษัท ท่าศาลาเหมืองแร่ จำกัด เป็นผู้อุทิศเงินในการก่อสร้างจำนวน 70,000 บาท ชาวบ้านเรียกว่า “ศาลาน้ำ” ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลาใกล้ท่าจอดเรือในสมัยก่อน แต่เดียวนี้ลำคลองตื้นเขินใช้เป็นท่าเรือไม่ได้แล้ว แต่ยังมีศาลาเป็นอนุสรณ์อยู่

___
คัดจาก

นครศรีธรรมราช, จังหวัด. (2527). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: จังหวัดนครศรีธรรมราช.

“เข็ดมอน” จากหญ้าดึกดำบรรพ์ สู่น้ำมันนวด KM Oil

“เข็ดมอน” เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง เติบโตตามธรรมชาติ พบได้ทั่วไปบนดินทรายในพื้นที่ภาคใต้ โดยฉพาะตามแนวสันทรายโมคลาน ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏในสำนวนท้องถิ่นที่จดจำและเล่าต่อกันเป็นมุขปาฐะว่า “ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน” การถูกทรงจำในลักษณะที่มีต้นกำเนิดมาพร้อมดินและฟ้า ทำให้หญ้าเข็ดมอนมีอีกสถานะคือการเป็น “หญ้าดึกดำบรรพ์”

หญ้าเข็ดมอนที่พบบนสันทรายโมคลานมี 2 ชนิด “ลุงชม” หรือ นายชม พันธิ์เจริญ ปราชญ์ท้องถิ่นตำบลโมคลานวัย 76 ปี อธิบายว่า “…หญ้าเข็ดมอนมี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือหญ้าเข็ดมอนตัวผู้ และหญ้าเข็ดมอนตัวเมีย ทั้ง 2 นี้ มีสรรพคุณในทางยา…”

ลุงชม เล่าให้คณะทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งพื้นที่ตำบลโมคลานบ้านลุงชมอยู่ในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผศ.ดร. รุ่งระวี จิตภักดี เป็นหัวหน้าโครงการ ฟังว่า ลุงชมได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการทำน้ำมันนวดมาจากคุณปู่ ในระยะแรกได้ทดลองทำน้ำมันจากสมุนไพร 3 ชนิด คือ ผักเสี้ยนผี ขมิ้นอ้อย และน้ำมันมะพร้าว เมื่อทดลองใช้เองแล้วได้ผลพอสมควรจึงแสวงหาสมุนไพรในท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อสรรพคุณที่มากกว่า จนพบว่า “หญ้าเข็ดมอน” มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย ตามชื่อที่ชาวปักษ์ใต้เรียกอาการปวดเมื่อยว่า “เข็ด”

ลุงชมได้สืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษโดยการสกัดสรรพคุณจากสมุนไพรหญ้าเข็ดมอนออกมาใช้ประโยชน์ พร้อมกับส่วนประกอบต่าง ๆ อีก 19 ชนิด เป็นน้ำมันสมุนไพรที่สามารถใช้นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ป้ายแผลเปื่อย แผลสด แผลน้ำร้อนลวก แผลในปากจากอาการร้อนใน ชโลมหนังศีรษะรักษาอาการผมร่วงเนื่องจากเชื้อรา

ในระยะแรก บรรจุภัณฑ์และแบรนด์ภายใต้ภาพและชื่อ “ลุงชม” สนนราคาอยู่ที่ขวดละเพียง 20 บาท มีจำหน่ายเฉพาะที่บ้านของลุงชมเท่านั้น ผศ.ดร. รุ่งระวีฯ และคณะทำงานจึงมีความเห็นร่วมกันว่า หญ้าเข็ดมอนคือของขวัญจากบรรพชน คือจุดเชื่อมร้อยระหว่างอดีตกับปัจจุบัน คือภูมิปัญญาที่สามารถพัฒนาสู่อาชีพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่มีขึ้นเพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับชุมชน หญ้าเข็ดมอนจึงควรได้รับการพัฒนาให้กลับมาทรงจำของคนในยุคปัจจุบันอีกครั้งในฟังก์ชันที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและกระแสสังคม โดยเบื้องต้นได้วางแผนในการ Rename Repackeging และ Remarketing เพิ่มมูลค่าตลอดจนการขยายผลสู่การส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวเนื่องให้กับชุมชน เพื่อให้ “หญ้าเข็ดมอน” จากหญ้าดึกดำบรรพ์ จะได้ถูกพัฒนาสู่น้ำมันนวด KM Oil ลุงชมเคเอ็มออยล์ จึงเป็นการผสมสานศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นฐานของศิลปวัฒนธรรมและการแพทย์พื้นบ้าน KM ที่มาจาก Khed Mon จึงคล้ายว่าเป็นคุณค่าและความหมายเดียวกันกับ Knowledge Management

ไผ่พาสเทล โมคลาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมากกว่าเครื่องจักสาน

ไผ่พาสเทล โมคลาน

โมคลาน” เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ทอดตัวไปในแนวเหนือ-ใต้ ขนานไปกับชายฝั่งทะเลตะวันออก มีภูมิประเทศตั้งอยู่บนสันทรายระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราชและทะเลอ่าวไทย ทำให้ทั้งดินและน้ำอุดมสมบูรณ์เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงทั้งผู้คน สรรพสัตว์ และพืชพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ต้นไผ่” ซึ่งเป็นไม้ชั้นดีที่ต่างก็ยอมรับกันในเรื่องคุณภาพ ตั้งแต่หน่อไม้ถึงปลายลำ ถูกนำมาใช้สอยได้นานาประโยชน์ ไผ่ดีด้วยดินดี น้ำดี ดังกล่าวแล้วว่าโมคลานตั้งอยู่บนสันทรายอันอุดมสมบูรณ์ “ไผ่” จึงเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การเกษตรที่สำคัญบนสันทรายนี้

โมคลานมีปราชญ์ท้องถิ่นคนสำคัญอย่าง “นายกิบหลี หมาดจิ” หรือ “ป๊ะกิบหลี” ทำให้ “ไผ่” ถูกประดิษฐ์ประดอยด้วยภูมิปัญญาอันสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น กระเชอ ชะลอม กระด้ง กระจาด ตะกร้า เป็นต้น นอกจากการสืบสานงานหัตถกรรมเหล่านี้แล้ว ป๊ะกิบหลียังพัฒนาฝีมือด้วยการประยุกต์สานกระบอกใส่แก้วน้ำแบบพกพา โคมไฟ และอีกสารพัด สุดแต่จะได้รับออเดอร์ คล้ายกับว่าทั้งผู้ทำและผู้ใช้ต่างก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์

มากไปกว่าการเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ป๊ะกิบหลี ยังเปิดบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนและต้อนรับนักท่องเที่ยว เหมาะสำหรับใครที่กำลังมองหากิจกรรมสำหรับครอบครัวด้วยงาน DIY Handicraft ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้เด็กๆ ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ของครอบครัว แถมยังฝึกทักษะการคิดเชื่อมโยง ทีมเวิร์ค และสมาธิหลักสูตรระยะสั้นกันได้ภายในระยะเวลา 1 วันก็ได้เลยทีเดียว

ไผ่จากป่า มาสู่งานฝีมือ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ความโดดเด่นจากการไล่สีของเปลือกไผ่ทำให้ได้โทนพาสเทลแบบออแกนิก ปลอดภัยสำหรับการใช้สอยที่ต้องสัมผัสกับอาหาร แถมยังได้ชื่นชมกับคุณค่าจากสีธรรมชาติของตอกไผ่บนผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น ของที่นี่โมคลาน…