คุณ พรเทพ เซ่งรักษา คนต้นแบบเมืองนคร ใช้วัฒนธรรม นำการท่องเที่ยว

หากพูดในแง่ของการท่องเที่ยว เรื่องราวความเป็นมาที่ต่างกันของแต่ละสถานที่ ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน นครศรีธรรมราชเป็นอีกจังหวัดที่ผู้คนให้ความสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน คนต้นแบบเมืองนครท่านนี้มีบทบาทในการสนับสนุนและผลักดันให้การท่องเที่ยวชุมชนเป็นที่รู้จัก โดยใช้วัฒนธรรม นำการท่องเที่ยว คุณ พรเทพ เซ่งรักษา ประธานชมรมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดนครศรีธรรมราช

จากความชื่นชอบการท่องเที่ยว สู่ประธานชมรมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดนครศรีธรรมราช

            ชีวิตในวัยเด็กของคุณพรเทพในตอนนั้น ไม่ต่างจากเด็กคนอื่นๆ ในละแวกบ้านเท่าไรนัก เมื่อมีเวลาว่างก็จะไปช่วยทางบ้านทำนา เติบโตท่ามกลางครอบครัวที่อบอุ่น หลังจากเรียนจบทางด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้าไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนของวิถีชีวิตสังคมเมืองและต่างจังหวัด จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปที่นครศรีธรรมราช และมีโอกาสได้ทำงานด้านการเมืองท้องถิ่นจนขึ้นไปถึงระดับผู้บริหาร ส่วนตัวเป็นคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว แต่ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีโอกาสได้มาทำงานทางด้านนี้

จนเมื่อคุณพรเทพได้พบกับปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่า ชายทะเลของอำเภอปากพนังในอดีตเคยเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ บริเวณนั้นน่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ แต่ติดตรงที่ยังไม่มีใครริเริ่ม ทั้งที่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่พร้อมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและทรัพยากรทางวัฒนธรรม คุณพรเทพจึงตัดสินใจเข้าร่วมจัดตั้งชมรมมัคคุเทศก์ และจัดกิจกรรมเรื่อยมาจนกระทั่งเจอกับวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง

บทบาทของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น กับการท่องเที่ยววิถีชุมชน

ชมรมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดนครศรีธรรมราช วัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งนั้นเป็นงานด้านอาสา คุณพรเทพ ให้ความเห็นว่า ต้องยอมรับว่าในส่วนของมัคคุเทศก์จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังขาดความเชื่อมโยงและการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ แม้แต่ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวรายใหญ่ของนครศรีธรรมราชก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับมัคคุเทศก์มากเท่าไรนัก

ดังนั้นสิ่งที่สามารถเป็นไปได้คือ แต่ละชุมชนต้องนำเสนอตัวเอง ส่วนในเรื่องของวัฒนธรรมความเป็นคนนครศรีฯ การที่พยายามจะสื่อไปให้คนภายนอกรับรู้ได้นั้น หากนำเสนอผ่านทางมัคคุเทศก์เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการในการประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงความสนใจให้คนอื่นๆ รู้จักกับภาคการท่องเที่ยวนครศรีธรรมราชมากขึ้น

อย่างในปี 2550 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชกำลังอยู่ในความสนใจอย่างมาก สาเหตุจากกระแสความดังของ “องค์จตุคามรามเทพ” (หนึ่งในวัตถุมงคลที่เคยได้รับความนิยม) ส่วนในปี 2563 นครศรีธรรมราชได้ถูกพูดถึงอีกครั้ง เกิดจากผู้คนมากมายที่ศรัทธา “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” ต่างแวะกันไปไหว้ขอพรกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งคุณพรเทพมองว่านี่ไม่ใช่แก่นแท้จริง และมักจะบอกกับทางมัคคุเทศน์ว่าให้แนะนำนักท่องเที่ยวไปกราบสักการะบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ศาสนสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นโบราณสถานสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย

เชื่อมโยงวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว

คุณพรเทพ ให้ความเห็นว่า มีเพียงมัคคุเทศก์ไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของนครศรีธรรมราช แม้แต่ตัวคุณพรเทพเองก็มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มากเช่นกัน คุณพรเทพ มองว่า ผู้ประกอบการ หน่วยงานเอกชน และภาครัฐควรส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น เพราะแต่ละคนได้รับความรู้จากแหล่งที่มาต่างกัน เมื่อนำเสนอสู่นักท่องเที่ยวกลายเป็นว่าไม่รู้จะเชื่อใครดี จึงควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ต้องแยกให้ออกว่าอันไหนคือเรื่องเล่า อันไหนคือเรื่องจริงที่มีหลักฐานอ้างอิง

แม้คุณพรเทพไม่สันทัดด้านศิลปะการแสดงของภาคใต้ แต่ด้วยสายเลือดของชาวใต้จึงมีความชื่นชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อยากที่จะส่งเสริมเยาวชน เพื่อให้เด็กมีกิจกรรมทำและดำรงตนในทางที่ถูกต้อง ที่ผ่านมามีการพาเด็กๆ ไปแข่งขันประกวดร้องเพลงตามรายการทีวีชื่อดัง มีการจัดตั้งชมรมเยาวชนคนลุ่มน้ำ เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เช่น เพลงบอก เพลงร้องเรือ โนราห์ รวมทั้งสอนร้องเพลง เมื่อใดก็ตามที่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ทางชมรมจะนำการแสดงของเด็กๆ และเยาวชนไปโชว์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เห็นถึงวัฒนธรรมภาคใต้ อย่างพิธีแห่หมรับ งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบเมืองนคร งานแห่ผ้าขึ้นธาตุ ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่สำหรับคุณพรเทพ ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านหลากหลายอาชีพ เป็นการส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน

การปรับตัวด้านการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตโควิด-19

โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นโครงการของภาครัฐเพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน สนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน อย่างชุมชนวัดศรีสมบูรณ์หรือบ้านหอยราก เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งผลิตขนมลา ทางคุณพรเทพอยากที่จะชาวบ้านหยิบเอาวัตถุดิบอื่นๆ ในท้องถิ่นมารังสรรค์เป็นอาหาร เพื่อเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริม ในช่วงวิกฤตโควิด เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยว ก็ไม่เกิดการใช้จ่ายขึ้น สินค้าท้องถิ่นที่สามารถจัดส่งได้จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมกับสถานการณ์เช่นนี้ โดยใส่เรื่องราวลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เพราะนครศรีธรรมราชขึ้นชื่อในเรื่องแหล่งวัฒนธรรมทางอาหาร คุณพรเทพ เล่าว่า ช่วงแรกที่ทำก็เจอกับปัญหาเช่นกัน แต่อยากให้ชาวบ้านมองว่าเราสามารถนำเอาเรื่องใกล้ตัวมาสร้างเป็นรายได้ไม่มากก็น้อย

แม้รูปแบบการท่องเที่ยวในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลง ในฐานะเจ้าบ้านนอกจากการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวแล้ว สามารถนำเสนอเอกลักษณ์ชุมชน อาหารขึ้นชื่อที่ไม่ควรพลาด ของดีประจำถิ่นควบคู่กันไปด้วย เพื่อดึงความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวให้อยากแวะมาสักครั้ง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เรื่องของการสร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยกันสืบสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

ผศ.สุพัฒน์ นาคเสน สืบสาน ถ่ายทอด โนรามรดกโลกทางวัฒนธรรม คนต้นแบบเมืองนคร

เมื่อไม่นานมานี้ทางองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ  (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” หรือ “มโนราห์” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ การสืบทอดโนราที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดคำถามว่า ต่อจากนี้อนาคตของโนราจะไปในทิศทางใด คนต้นแบบเมืองนครท่านนี้เป็นหนึ่งในบุคคลที่เข้าใจถึงแก่นแท้ของโนรา เป็นผู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ดั้งเดิมสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ผศ.สุพัฒน์ นาคเสน สืบสาน ถ่ายทอด โนรามรดกโลกทางวัฒนธรรม

จากความชื่นชอบทางด้านนาฏศิลป์ สู่ศิลปะการแสดงโนรา

ผศ.สุพัฒน์ หรือที่ลูกศิษย์เรียกกันว่า “ครูพัฒน์” เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโนราสมัยเรียนอยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช ซึ่งครูพัฒน์มีความชื่นชอบทางด้านนาฏศิลป์อยู่แล้ว และมีโอกาสฝึกการร่ายรำโขนหลังจากเรียนจบได้เป็นครูสอนอยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ในตอนนั้นครูพัฒน์ต้องการที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเทริดมโนราห์เพิ่มเติม (เครื่องสวมศีรษะ ซึ่งศิลปินโนราถือว่าเทริดเป็นของสูง เป็นสัญลักษณ์ของครู) จึงได้ไปขอความรู้จากครูโนราท่านหนึ่ง ในตอนนั้นครูพัฒน์มองว่า คนที่จะมาสืบทอดศิลปะการแสดงมโนราห์นั้นมีจำนวนน้อยมาก จึงเกิดความคิดที่อยากจะศึกษาอย่างจริงจัง จากนั้นครูพัฒน์มีโอกาสได้ไปทำงานที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดอบรมเกี่ยวกับนาฏศิลป์ตามความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา หลังจากสอบบรรจุเข้ารับราชการครูได้ ครูพัฒน์หันมาสนใจโนราอีกครั้ง หาประสบการณ์โดยการฝึกร่ายรำกับครูโนราที่มีชื่อเสียงหลายท่าน จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำวิทยานิพน์เรื่อง “โนรา : รำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาว” เป็นการรำประกอบพิธีกรรมของโนราที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ การรำชุดนี้ต้องแสดงโดยนายโรงโนรา และแสดงเฉพาะในการประชันโรงเท่านั้น ปัจจุบันหาดูได้ยากมาก ครูพัฒน์ทำการวิจัยโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และฝึกร่ายรำกับนายโรงโนราผู้ทรงคุณวุฒิด้านโนราหลายท่าน ทางครูพัฒน์เองได้ผ่านการประกอบพิธีกรรมครอบเทริด และผูกผ้าใหญ่อย่างถูกต้อง ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช เพื่อต้องการสืบทอดการรำอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไว้เป็นสมบัติของโนราสืบไป

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโนรา สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ครูพัฒน์ให้ความเห็นว่า โนราเปรียบเหมือนแหล่งรวมองค์ความรู้ทางศิลปะอันหลากหลาย สามารถพิจารณาได้หลายประเด็น เช่น

  • โนราเป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสาร โดยใช้ร่างกายเพื่อแสดงการร่ายรำ ซึ่งการร่ายรำก็สามารถเจาะลึกลงไปได้อีกว่า จะรำอย่างไรให้ท่วงท่าดูสวยงาม ซึ่งต้องอาศัยสมาธิ มีจังหวะที่สม่ำเสมอ รู้จักวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างถูกต้อง
  • โนราเป็นสัญลักษณ์ของดนตรี ความงาม ความไพเราะ ความเหมาะสมของจังหวะที่สอดคล้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงท่วงทำนองมีทั้งจังหวะช้าและเร็ว เมื่อฟังแล้วเกิดความรู้สึกไปตามจังหวะเพลง
  • โนราเป็นสัญลักษณ์ของวรรณศิลป์ บทกวี ภาษากลอน มีการร้องขับบทเป็นกลอนสด ซึ่งต้องอาศัยทักษะการเปล่งเสียงให้มีความไพเราะ ใช้เสียงอย่างเหมาะสมตามบทกลอน ซึ่งกลอนโนรามีหลายรูปแบบ
  • โนราเป็นสัญลักษณ์ของหัตถศิลป์ ชุดโนราประกอบด้วยงานศิลป์หลายแขนงที่มีความประณีต เช่น “เทริดโนรา” มีโครงสร้างทำด้วยโลหะ ทองเหลือง หรือไม้ไผ่สาน ตกแต่งรายละเอียดด้วยการปั้นรักติดเป็นลวดลาย ลงรักปิดทอง ประดับตกแต่งด้วยกระจกสีหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม “เครื่องทรงโนรา” หรืออีกชื่อว่า เครื่องลูกปัดโนรา เครื่องแต่งกายของโนราที่มีการนำลูกปัดหลากสีสันมาร้อยเรียงกันเป็นลวดลายต่างๆ ที่สวยงาม

สติ สมาธิ และธรรมะ กับโนรา

ความเข้าใจของคนทั่วไปมักมองว่า โนราเป็นหนึ่งในศิลปะเพื่อความบันเทิง หากศึกษาให้ลึกถึงแก่นจะพบว่า ภายใต้ท่วงท่าการร่ายรำที่งดงามและบทร้องอันไพเราะนั้น โนราถือเป็นลักษณะทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีรากฐานจากความเชื่อ ได้เข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนทางภาคใต้ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยที่มีการรักษาเยียวยาผ่านขั้นตอนของพิธีกรรม ครูพัฒน์ เล่าว่า โนรานั้นคู่กับการพิธีกรรม ซึ่งการทำพิธีกรรมต้องมีสมาธิจึงจะเกิดผล แต่ให้ระลึกเสมอว่า เราไม่ได้ทำด้วยพลังของเราเอง แต่เราเป็นเพียงสื่อกลางที่เชิญพลังของครูหมอโนรา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือ เพื่อรักษาเยียวยาอาการเจ็บป่วยที่มีลักษณะตามความเชื่อ เมื่อจิตเราสงบ มีสติ สมาธิ ก็จะเกิดการระลึกถึงครูบาอาจารย์ เกิดเป็นพลังในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งการรักษาต้องใช้ประสาทสัมผัสหลายส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับจังหวะท่วงทำนองที่กำลังดำเนินไป ส่วนของธรรมะกับโนรา ในอดีตมีความเชื่อว่าโนราสามารถติดต่อกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติได้ โดยผ่านพิธีกรรมบวงทรวง มีการสอดแทรกคำสอนต่างๆ เช่น พระคุณพ่อแม่ พระคุณครู การครองเรือน ปรัชญาการใช้ชีวิต เป็นต้น ผ่านบทกลอนที่ขับร้อง ซึ่งคนที่จะมาเป็นโนราได้ต้องมีความศรัทธาในตัวครูโนราทั้งครูที่มีชีวิตอยู่และครูบรรพชน

“โนรา” มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

ในอดีต โนรา เปรียบเหมือนสื่อในการบอกเล่า ถ่ายทอด เรื่องราวต่างๆ คนที่เป็นโนราต้องเรียนรู้ในเรื่องของธรรมะและพิธีกรรม ต้องเป็นคนที่น่าเคารพ เป็นที่ศรัทธาของผู้อื่น ในส่วนของศิลปะการแสดง ครูพัฒน์ เล่าว่า โนราประกอบด้วยตัวละครหลัก 3 คน คือ นายโรง (โนราใหญ่) นางรำ และตัวตลก (นายพราน) เมื่อดูจากชื่อเรียกแล้ว หลายคนมักเข้าใจผิด อย่าง “นางรำ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง นางรำผู้หญิง แต่เป็นตัวละครที่มีลำดับรองลงมาจากนายโรง สามารถจำแนกตัวละครโดยดูได้จากเครื่องแต่งกาย ซึ่งโนรามีการพัฒนารูปแบบการแสดงตามยุคสมัย ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมมาเรื่อยๆ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ทำให้ต้องย้อนกลับมาถามว่า ทุกวันนี้โนรามีความสำคัญกับชีวิตผู้คนและสังคมอย่างไร สามารถนำไปประกอบวิชาชีพในรูปแบบใด

ในอนาคต ครูพัฒน์ให้ความเห็นว่า การที่โนราได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่จะอนุรักษ์ไว้อย่างไร ใครจะเป็นผู้รักษาไว้ คงเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับอนาคต ซึ่งศิลปินโนรานั้นมีส่วนสำคัญต่อหน้าที่นี้ ต้องตระหนักและรู้คุณค่าในสิ่งที่ทำ ส่วนนักวิชาการเองก็ต้องให้ความสำคัญกับมรดกภูมิปัญญานี้เช่นกัน ต้องถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้อื่นรับรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง สิ่งที่ครูพัฒน์กังวลคือ ความงดงามของโนราเริ่มลดลง ในขณะที่ความสนุกสนานเพิ่มขึ้น ครูพัฒน์มักจะนำคำสอนของครูที่ท่านเคารพนับถือนั่นคือ โนรายก ชูบัว ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ประจำปี 2530 ถ่ายทอดต่อไปยังลูกศิษย์ ให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของโนรา รู้ถึงที่มาที่ไปอย่างเป็นเหตุเป็นผลนั่นเอง

การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไปไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของชุมชนโนราทุกคนตั้งแต่ คนดู คนรักโนรา คนที่รู้เรื่องโนรา ผู้สนับสนุนโนรา ในการช่วยกันรักษาแก่นแท้ คงรูปแบบดั้งเดิมไว้ ควบคู่กับการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อความอยู่รอด

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

คุณ สหธัญ กำลังเกื้อ  ผู้นำพลิกนาร้าง เป็นนารักษ์ คนต้นแบบเมืองนคร

เราสามารถทำประโยชน์อะไรได้บ้างกับผืนดินที่เรามีอยู่? เราสามารถพัฒนาอะไรให้ดีขึ้นได้จากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่? สิ่งที่คนต้นแบบเมืองนครท่านนี้ได้ลงมือทำ โดยยึดมั่นในหลักการทำงานที่ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม ต้องเข้าไปคลุกคลี เรียนรู้ด้วยตัวเอง และทำงานให้เป็นทุกอย่าง เปลี่ยนจากผืนดินอันว่างเปล่าให้กลายเป็นนาข้าวอันอุดมสมบูรณ์ เกิดการสร้างเครือข่ายกลุ่มชาว นา ณ คอน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นคำตอบที่แทบไม่ต้องอธิบายอะไรมากมาย เชิญทุกท่านทำความรู้จักกับคุณ สหธัญ กำลังเกื้อ  ผู้นำพลิกฝืนผืนนาร้าง สร้างนารักษ์

จากงานสายวิชาการ มุ่งหน้าสู่งานเกษตรอินทรีย์

คุณสหธัญ เกิดในครอบครัวที่มีคุณพ่อเป็นกำนัน อาชีพหลักของทางบ้านคือ ทำนา ชีวิตในวัยเด็กของคุณสหธัญ จึงคุ้นชินกับการทำนา ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว อย่างในช่วงวันหยุดมักจะวิ่งเล่นตามท้องนา จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทางบ้านจึงเลิกทำนาไปในที่สุด แต่ยังคงมีเครือญาติที่ทำอาชีพนี้อยู่ คุณสหธัญเล่าว่า แม้จะคลุกคลีอยู่กับท้องนาตั้งแต่เด็ก โดยส่วนตัวนั้นไม่ชอบอาชีพนี้สักเท่าไหร่ เพราะมีความคิดว่าเป็นอาชีพที่ทำแล้วเหนื่อยมาก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน คุณสหธัญมีโอกาสได้ทำงานกับนักวิชาการ จึงตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท แต่ยังไม่ทันจะได้เรียน ก็มีโอกาสได้ทำงานเป็นเลขานุการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นงานที่คุณสหธัญไม่คาดฝันว่าจะมีโอกาสได้ทำ ในขณะที่ทำงานคุณสหธัญได้แบ่งเวลาไปเรียนทางด้านสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ควบคู่ไปด้วย จากนั้นได้เข้าทำงานฝ่ายวิชาการที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้รับโอกาสชักชวนให้ไปทำงานกับทางเทศบาล บริหารจัดการด้านศูนย์การเรียนรู้กับโจทย์ “แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตสำหรับเยาวชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช” และต้องผลักดันให้หน่วยงานนี้มีที่ยืนในระดับประเทศไปจนถึงนานาชาติ

ในปีแรกถือเป็นช่วงที่กำลังล้มลุกคลุกคลาน เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับทีมงานและทางเทศบาล เมื่อเข้าสู่ปีที่สองเริ่มมีเครือข่ายจากกรุงเทพฯ เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งคุณสหธัญเป็นผู้ติดต่อประสานงาน จนเข้าสู่ปีที่ 3 เริ่มมีหน่วยงานจากนานาชาติเข้ามาร่วมทำกิจกรรม เมื่อโครงการบรรลุผลตามเป้าหมาย คุณสหธัญตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาดูแลสวนยางของตัวเอง ด้วยเวลาที่ว่างมากขึ้นก็เริ่มหาพืชพันธุ์มาปลูกแสมในสวนยาง ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น ต้นจำปาทอง ต้นตะเคียน ต้นมะฮอกกานี การปลูกต้นไม้ทำให้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน ปุ๋ยหมัก วัสดุคลุมดิน คุณสหธัญจึงเกิดไอเดียว่าน่าจะทำนาเพื่อต้องการนำฟางมาใช้สำหรับทำปุ๋ย เริ่มจากพื้นที่ขนาด 5 ไร่ ปลูกข้าวสังข์หยด เมื่อเพื่อนทราบข่าวว่าทำนาจึงขอสั่งจองล่วงหน้า ปรากฏว่าข้าวสารล็อตแรกขายหมดเกลี้ยง จากเดิมที่ต้องการแค่ฟาง เป้าหมายจึงเปลี่ยนไปที่การปลูกข้าวให้ได้คุณภาพ จึงขยายพื้นที่ทำนาจาก 5 ไร่เป็น 20 ไร่ ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ทั้งหมด ในขณะที่การปลูกข้าวของคุณสหธัญเป็นแบบเกษตรอินทรีย์ ผืนนาบริเวณโดยรอบที่ให้คนอื่นเช่านั้นใช้สารเคมี แน่นอนว่าสารเคมีนั้นปนเปื้อนไปยังดินและน้ำ คุณสหธัญจึงตัดสินใจทำนาในพื้นที่ตัวเองทั้งหมด 50 ไร่โดยไม่ให้ใครเช่า เพราะต้องการจะพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมีก็สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้

ผู้นำพลิกนาร้าง เป็นนารักษ์ เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการแรกและลงมือทำให้เป็น

คุณสหธัญศึกษาและเรียนรู้การทำนาผ่านการลงมือทำด้วยตัวเอง ตั้งแต่เตรียมเมล็ดข้าว เตรียมดิน การหว่านเมล็ด ใส่ปุ๋ย การดูแล และเก็บเกี่ยว การทำนาปลอดสารเคมีในแบบของคุณสหธัญ เรียกได้ว่าอาศัยสารพัดวิธี มีทั้งการหว่านถั่วเขียว แล้วรอให้งอกขึ้นมาพร้อมข้าว ธรรมชาติของถั่วเขียวนั้นไม่ทนต่อสภาพที่มีน้ำขัง ถั่วเขียวที่ตายก็จะกลายเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นข้าว เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ดี มีการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ใช้มูลสัตว์เท่าที่มีในท้องถิ่น ในส่วนของศัตรูพืชใช้วิธีจ้างคนมาถอนหญ้า แต่ละปัญหาที่เจอล้วนมีเทคนิคในการแก้ไข ส่วนตัวคุณสหธัญต้องการทำนาโดยรักษาผืนดินให้อยู่ในสภาพที่ดี ทำนาโดยไม่ทำลายดิน จำนวนผลผลิตเป็นคำตอบให้กับชาวบ้านว่าแม้ไม่ใช้สารเคมีก็สามารถได้ผลผลิตตามที่คาดหวังได้ คุณสหธัญขายข้าวกล้องไม่ได้ส่งโรงสี มีโรงสีในเครือข่าย บรรจุภัณฑ์สวยงาม สามารถมอบให้เป็นของขวัญได้ จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าทางการเกษตร

สำหรับแนวคิดแบบเกษตรเชิงพานิชย์ของคุณสหธัญ เริ่มจากทำนา 50 ไร่แล้วประสบความสำเร็จ จึงขยับขยายพื้นที่ไปจนถึง 1,700 ไร่ (รวมเครือข่าย) คุณสหธัญเล่าว่า แม้ขนาดของพื้นที่ต่างกัน แต่ใช้ระยะเวลาในการทำนาไม่ต่างกัน ใช้เครื่องจักรชุดเดียวกันไม่ว่าข้าวจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม ต้องใช้ระยะเวลาในการเพาะปลูก 4-5 เดือน ดังนั้นหากทำน้อยจะเสียเปรียบ หากทำมากเราได้เปรียบ การจะส่งข้าวสารเข้าโรงสีได้ก็ต้องมีผลผลิตอย่างน้อย 50 ตัน ซึ่งการรวมกลุ่มกันของเครือข่ายช่วยให้ชาวนาคนอื่นๆ แม้มีพื้นที่ทำนาแค่ไม่กี่ไร่ก็สามารถมีอำนาจในการต่อรองกับโรงสีได้ ในส่วนของการควบคุมคุณภาพ คุณสหธัญเป็นผู้ควบคุมกระบวนการผลิตเอง ช่วยจัดการและประสานงานทุกอย่าง เมื่อแต่ละแปลงเริ่มอยู่ตัวแล้ว คุณสหธัญก็เริ่มมองหาที่ดินรกร้างเพื่อสร้างประโยชน์ จึงเป็นที่มาของโครงการ “พลิกนาร้าง สร้างนารักษ์” โครงการที่ช่วยอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เช่น ข้าวเมล็ดฝ้าย ข้าวเล็บนก ข้าวช่อหลุมพี ข้าวไข่มดริ้น และยังเป็นการช่วยพลิกฟิ้นผืนนาที่รกร้างให้กลับมาเป็นผืนนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์ได้

ผืนนา ณ เมืองคอนเป็นตัวแทนของภาคการเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่แสดงให้เห็นว่าหากมีความมุ่งมั่นตั้งใจ และอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน เรื่องที่หลายคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ก็สามารถทำให้เป็นไปได้และเป็นไปได้ด้วยดี เริ่มต้นจากการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง จนเกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันของเกษตรกร เพื่ออนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพลิกฟื้นพื้นแผ่นดินบ้านเกิดให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เพราะการทำนาไม่ใช่แค่การเรียนรู้ภาคการเกษตรเท่านั้น แต่ยังได้เรียนรู้การพัฒนาชุมชนและสังคมเช่นกัน เมื่อชุมชนแข็งแกร่งก็จะนำมาซึ่งความสุขของคนในชุมชนนั่นเอง

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

คุณแสนภูมิ กล้าอยู่ ผู้นำชุมชนยุคใหม่ พัฒนาความร่วมมือสร้างรายได้ชุมชน

จุดเริ่มต้นจากคนตัวเล็กที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ผสมผสานวิทยาการความรู้อันหลากหลายของคนในชุมชน บวกกับทักษะด้านภาษาของตนเอง เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนผ่านประเพณีวัฒนธรรม จนเกิดเป็นหลายโครงการที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจในชุมชน ทางนครศรีสเตชั่นมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับคนต้นแบบเมืองนคร ผู้ที่อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังโครงการชุมชนท่องเที่ยวบ้านบางดี คุณแสนภูมิ กล้าอยู่ ผู้นำชุมชนยุคใหม่ พัฒนาความร่วมมือสร้างรายได้ชุมชน

บทบาทของนักคิด นักกิจกรรม สานต่องานที่ทำตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน

ช่วงชีวิตในวัยเด็กของคุณแสนภูมิ เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมตัวยง ไม่ว่าจะเป็นนักกลอนประจำโรงเรียนที่เข้าร่วมการประกวดต่างๆ คณะกรรมการนักเรียน กิจกรรมสภาเด็ก  จนเมื่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ยังคงทำงานในรูปแบบเดิมอยู่ มีโอกาสได้เป็นผู้นำนักศึกษา ทำกิจกรรมเกี่ยวกับค่ายอาสา ภาคีเครือข่ายที่สร้างสัมพันธภาพกับทางชุมชน รวมถึงงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบลเสาเภาที่ทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี เด็กๆ ต่างเรียกขานคุณแสนภูมิว่า “ป้าแสน”  ซึ่งโครงการแต้มสีแต้มใจน้อง เป็นกิจกรรมแรกของคุณแสนภูมิที่ทำร่วมกับทางสงขลาฟอรั่ม ในตอนนั้นถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับชุมชน ซึ่งได้รับความสนใจและความร่วมมือจากเด็กๆ และผู้ปกครองเป็นอย่างดี

ในช่วงชั้นปีที่ 3 ขณะกำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักศึกษาต้องฝึกงาน คุณแสนภูมิเลือกฝึกงานที่โรงเรียนที่ตัวเองเคยเป็นนักเรียนมาก่อน ฝึกสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6  และดูแลในส่วนของคณะกรรมการนักเรียน ช่วยไกด์ไลน์กิจกรรมต่างๆ อย่างกิจกรรม Zero Project เริ่มจากการทาสีชั้นวางหนังสือของห้องสมุดโรงเรียน เปลี่ยนโฉมห้องสมุดให้น่าเข้ามากขึ้น กิจกรรมสภาเด็กที่ทำให้นักเรียนเข้าใจ และเข้าถึงชุมชนที่ตัวเองอยู่อาศัยมากขึ้น เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวัด โรงเรียน และชุมชน วาดกำแพงวัดผ่านการทำกิจกรรมและใช้สื่อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น กิจกรรมเขียนฝันวรรณศิลป์ ที่คุณแสนภูมิใช้ความถนัดส่วนตัวอย่างการเขียนกลอนมาฝึกสอนนักเรียน กิจกรรมวาดฝันวรรณทัศน์ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะผ่านกำแพงวัดและกิจกรรมคหกรรมนำอาชีพ การทำผ้ามัดย้อมที่สกัดสีจากต้นปอทะเล การทำเรือพนมพระ โดยแบ่งหน้าที่ให้เด็กๆ แต่ละคนรับผิดชอบ จากนั้นเด็กๆ ต้องหาทีมงานและบริหารจัดการงานที่ได้รับมอบหมายด้วยตัวเอง เป็นการฝึกทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ผู้นำชุมชนยุคใหม่ พัฒนาความร่วมมือสร้างรายได้ชุมชน

การที่จะชักชวนให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรมอะไรสักอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กิจกรรมการเข้าร่วมการประกวดขบวนแห่เรือพนมพระในนามวัดขรัวช่วย ตำบลเสาเภา ในครั้งแรกนั้นเรียกได้ว่าติดขัดแทบทุกเรื่อง ซึ่งคุณแสนภูมิมีความตั้งใจว่าจะเข้าไปขอความร่วมมือจากทุกกลุ่มชุมชน ทั้งช่างศิลป์ ช่างไม้ นางรำ ผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชน เมื่อคนในชุมชนทยอยกันช่วยงาน บวกกับการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ทำให้คนอื่นๆ ในชุมชนเกิดการตื่นตัวและสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนไม่น้อย ส่งผลให้เรือพระของวัดขรัวช่วยมีจำนวนคนในขบวนเยอะที่สุด และได้รับรางวัลขบวนแห่ยอดเยี่ยม คุณแสนภูมิมองว่า จุดเริ่มต้นจากพลังของเด็กๆ ส่งต่อไปยังผู้ปกครอง จนเกิดการชักชวนต่อไปยังคนรู้จัก เกิดเป็นภาคีเครือข่ายในชุมชนขึ้นมา ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา จากจุดเริ่มต้นของความร่วมมือกันของคนในชุมชน เมื่อถึงงานประเพณีชักพระ กลายเป็นว่าร้านค้าในชุมชนต่างพากันปิดร้านเพื่อไปร่วมงาน แทบทุกบ้านร่วมมือร่วมใจกัน

กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ้านบางดี ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล ที่คุณแสนภูมิเป็นประธานกลุ่ม จุดเริ่มต้นจากการที่มีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์พัชรี สุเมโธกุล  (หนึ่งในคนต้นแบบนครศรีสเตชั่น) บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของชุมชนในโครงการที่อาจารย์เข้าไปเป็นที่ปรึกษา การพูดคุยในตอนนั้นคุณแสนภูมิมีความรู้สึกว่าอยากที่จะทำชุมชนการท่องเที่ยวมาก แต่ยังไม่รู้ว่าจะประสานงานกับคนในชุมชนได้อย่างไร คุณแสนภูมิให้เหตุผลว่าถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับชุมชน เมื่อทางอาจารย์พัชรีเข้ามาให้ความช่วยเหลือ คุณแสนภูมิจึงระดมกลุ่มคนที่รู้จัก ดึงแต่ละเครือข่ายในชุมชนมาเข้าร่วม เพื่อวางแผนเส้นทางการเดินทาง พัฒนาอาหารท้องถิ่น กิจกรรมพายเรือคายัคชมอุโมงค์โกงกางบ้านบางดี กินอาหารท้องถิ่นประจำฤดูกาล ซึ่งบางดีมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นแหล่งอาหารทะเลอันอุดมสมบูรณ์ อย่างฤดูฝนต้องกินข้าวมันมะพร้าวกับพร้าวคั่ว และน้ำพริกส้มขามอ่อน ฤดูร้อนก็ต้องกินข้าวมันทะเล เป็นต้น

เอกลักษณ์ของคนบ้านบางดีจะเป็นคนที่สนุกสนาน ชอบกิจกรรมร้องรำทำเพลง มีความใกล้ชิดกับศิลปวัฒนธรรมอย่างโนราห์และหนังตะลุง เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย เมื่อเปิดตัวโครงการชุมชนท่องเที่ยวบ้านบางดีให้คนในพื้นที่รู้จัก ก็ได้รับความร่วมมือจากหลายสื่อในการช่วยเหลือประชาสัมพันธ์โครงการ มีคณะทัวร์ให้ความสนใจ แต่โชคไม่ดีนักที่จังหวะนั้นทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  แต่คุณแสนภูมิมองว่าอย่างน้อยก็ได้เริ่มลงมือทำ คนในชุมชนเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้นกว่าเดิม ทุกฝ่ายมีเวลาได้เตรียมตัวกันมากขึ้น ทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ เตรียมผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าในการจำหน่าย ได้รื้อฟื้นงานหัตถกรรมประจำท้องถิ่น เมื่อถึงเวลาที่สถานการณ์ดีขึ้น ทางชุมชนก็พร้อมที่จะเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยว

แน่นอนว่าแต่ละชุมชนมีต้นทุนทางทรัพยากรและวัฒนธรรมที่ต่างกัน อย่างโครงการชุมชนท่องเที่ยวซึ่งเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ของชุมชน จำเป็นจะต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในชุมชน การที่คนในชุมชนจะร่วมมือกันได้ต้องอาศัยความเชื่อใจกัน ความเคารพซึ่งกันและกัน ผู้นำจึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงคนทุกวัยเข้าหากัน แม้ต้องเจอกับอุปสรรค ความท้าทายต่างๆ แต่เมื่อก้าวแรกได้เริ่มต้นแล้ว ก้าวต่อไปย่อมเกิดขึ้นเสมอ แม้เป็นก้าวเล็กๆ ก็อาจนำไปสู่การเดินทางที่เราเองคาดไม่ถึงก็เป็นได้

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

อาชีวะสร้างคน เด็กอาชีวะสร้างชื่อเมืองนคร คุณ ณภัทร มาศเมฆ และ คุณ เสกสรร ขันเพชร พร้อมคณะอาจารย์

“อาชีวะสร้างคน คนสร้างชาติ” คือวลีหนึ่งที่สะท้อนถึงความสำคัญของระบบการเรียนและบุคลากรในหลักสูตรการศึกษาในสายอาชีพ แต่ทว่าในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเด็กอาชีวะกลับกลายเป็นกลุ่มเด็กที่ไม่ค่อยได้รับโอกาสมากอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเพราะค่านิยมที่เรามักจะปลูกฝังให้ลูกหลานเข้าศึกษาต่อในสายสามัญเพื่อเป้าหมายที่สูงขึ้นในระดับอุดมศึกษาต่อไปนั่นเอง แม้จะเป็นกลุ่มคนที่ถูกมองข้ามความสำคัญแต่เมื่อโอกาสมาถึงก็ยังมีเด็กอาชีวะคู่หนึ่งที่สามารถคว้าโอกาสสำคัญนั้นเอาไว้ได้และต่อยอดไปสู่ความสำเร็จเป็นรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานในระดับประเทศ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเด็กอาชีวะที่สามารถสร้างชื่อเสียงในระดับประเทศและเป็นคนต้นแบบทั้ง 2 คนคือ น้องแคน ณภัทร มาศเมฆและน้องน็อต เสกสรร ขันเพชร รวมถึงอาจารย์ผู้คุมการฝึกซ้อมอย่างอาจารย์อรอุมา ทองโอ อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช

ทำความรู้จักกับ 2 คนเก่งผู้สร้างชื่อในระดับประเทศและผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

2 คนเก่งผู้เป็นต้นแบบที่สร้างความภูมิใจให้กับชาวนครศรีธรรมราชจากผลงานชนะเลิศการแข่งขันสุดยอดทักษะสายสัญญาณและเน็ตเวิร์คก็คือน้องแคน ณภัทร มาศเมฆ ซึ่งก่อนที่จะมาเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชนั้นน้องแคนเคยศึกษาที่โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศซึ่งหลังจากเรียนจบในระดับชั้น ม.3 น้องแคนได้เลือกที่จะศึกษาต่อที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชโดยได้แรงบันดาลใจมาจากน้าชายที่เป็นศิษย์เก่าจากที่วิทยาลัยการอาชีพแห่งนี้

ในขณะที่น้องน็อต เสกสรร ขันเพชร เองก็เลือกที่จะศึกษาต่อที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชเมื่อจบการศึกษาระดับชั้น ม.6 จากการแนะนำของเพื่อนฝูงที่เรียนที่วิทยาลัยการอาชีพแห่งนี้อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งทั้งสองได้เลือกเรียนในสาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์

อาจารย์อรอุมา ทองโอ อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชและ เป็นผู้ประสานงานและควบคุมการฝึกซ้อมให้กับทีมนี้เองก็เป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยแห่งนี้เช่นกัน ด้วยความรักในสถาบันอาจารย์อรอุมาเองจึงเลือกที่จะกลับมาเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่วิทยาลัยแห่งนี้เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์ผู้ที่เปรียบได้ดั่งรุ่นน้องของอาจาราย์อรอุมาเช่นกัน

การเรียนการสอนที่ประดุจดั่งคนในครอบครัวกับความภูมิใจของชาวการอาชีพ

ที่วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชนี้คือสถานศึกษาแห่งโอกาส เป็นสถานศึกษาแห่งแรงบันดาลใจที่ทุกคนพร้อมจะประคับประคองให้นักเรียนอาชีวะจากที่นี่ทุกคนได้เติบโตออกไปอย่างมีคุณภาพ โดยตลอดระยะเวลาในการเรียนที่นี่ อาจารย์ทุกท่านจะมุ่งเน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ให้นักเรียนอาชีวะทุกคนได้รับประสบการณ์จริงที่แสนจะล้ำค่า รวมไปถึงการออกปฏิบัติงานจริงเพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ให้กับนักเรียนอาชีวะทุกคนของสถาบัน ด้วยรากฐานแห่งความรัก ความผูกพันประดุจดั่งคนในครอบครัวเดียวกันของแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเบ้าหลอมที่สำคัญที่ทำให้น้อง ๆ ทั้ง 2 คนสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งวิทยาลัยและกับจังหวัดนครศรีธรรมราชได้อย่างเต็มภาคภูมิ

การแข่งขันระดับชาติกับโจทย์สุดหินและสถานการณ์โควิดคืออุปสรรคสำคัญที่ทั้ง 2 คนต้องก้าวผ่าน

การแข่งขันสุดยอดทักษะสายสัญญาณและเน็ตเวิร์คซึ่งจัดโดยบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นครั้งที่ 9 ในปีนี้ การแข่งขันนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อคัดเลือกนักเรียนนักศึกษาทั้งระดับอาชีวะและระดับอุดมศึกษาเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันอาเซียนสกิลทางด้านทักษะสายสัญญาณและเน็ตเวิร์ก โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งรอบคัดเลือกในระดับภูมิภาคเพื่อหาตัวแทนเข้าแข่งขันรอบสุดท้ายที่จังหวัดนครนายก โดยจากสถานการณ์โควิดทำให้การแข่งขันรอบคัดเลือกต้องแข่งกันผ่านระบบ Zoom ซึ่งน้อง ๆ ทั้ง 2 คนก็สามารถผ่านเข้าไปสู่รอบสุดท้ายได้สำเร็จ

และโจทย์สุดหินในรอบสุดท้ายคือการติดตั้งระบบ UTP กับ fiber optic ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากและน้องทั้ง 2 คนก็ไม่ทำให้ทุกคนต้องผิดหวังโดยน้องแคนสามารถทำผลงานได้คะแนนสูงสุดจนได้ตำแหน่งชนะเลิศและคว้าถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาได้สำเร็จในขณะที่น้องน็อตเองก็สามารถคว้ารางวัลชมเชยและความภูมิใจมาให้กับสถาบันได้เช่นกัน

ความร่วมมือและความเกื้อกูลระหว่างครูอาจารย์ ผู้บริหารและรุ่นพี่คือองค์ประกอบของความสำเร็จในครั้งนี้

โจทย์ที่สุดหินนี้ก็เกือบจะทำให้อาจารย์อรอุมาและน้อง ๆ ต้องถอดใจกันแล้วเพราะการเชื่อมต่อสาย fiber optic จำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อสายที่มีราคาแพงมาก แต่ด้วยเพราะมีศิษย์เก่าที่ทำงานในด้านนี้ให้ยืมเครื่องมือมาเพื่อให้น้องทั้ง 2 คนได้ใช้ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมตัวในการแข่งขัน และมีรุ่นพี่ศิษย์เก่าที่เคยมีประสบการณ์ในการแข่งขันรายการนี้มาก่อนมาช่วยฝึกซ้อมและแนะนำแนวทางในการแข่งขันโดยจะเน้นการวางแผนเพื่อทำคะแนนให้ดีที่สุด ช่วยสอนวิธีคิด ฝึกทักษะกระบวนการคิดและการวางแผนให้กับน้อง ๆ ทั้งสองคน บวกกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารวิทยาลัยที่สนับสนุนการแข่งขันนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่และยังได้รับความช่วยเหลือจากคณะครูในวิทยาลัยอาชีพหลาย ๆ ท่าน ทำให้การแข่งขันครั้งนี้ประสบความสำเร็จก็ด้วยเพราะความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมีส่วนสำคัญมาจากความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อของน้องทั้งสองคน

แม้ความร่วมมือของทุกฝ่ายจะผลักดันให้เกิดความสำเร็จนี้ขึ้นมา แต่พระเอกของงานนี้ก็จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากน้องทั้ง 2 คนทั้งน้องแคนและน้องน็อต โดยน้องทั้งสองคนต้องใช้ความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อในการฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการแข่งรอบสุดท้ายที่การซ้อมในแต่ละครั้งล้วนกินเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้นน้องแคนเองก็เคยพยายามมาหลายครั้งที่จะเป็นตัวแทนของวิทยาลัยให้ได้แต่ก็ไม่ผ่านสักทีจนมาประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ในขณะที่น้องน็อตเองก็เพิ่งเข้ามาสู่การเรียนในสายอาชีพได้เพียง 1 ปี เท่านั้นการฝึกซ้อมที่เกิดขึ้นจึงสร้างแรงกดดันให้กับน้องทั้งสองไม่น้อยทีเดียว แต่ด้วยกำลังใจจากเพื่อน ๆ พี่ ๆ ครูอาจารย์ที่อยู่เบื้องหลังและศิษย์เก่าที่เข้ามาช่วยสอนรวมถึงการสนับสนุนจากผู้บริหารจึงทำให้น้องทั้งสองคนสามารถก้าวผ่านแรงกดดันจนนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

พยายามสร้างโอกาสให้ตัวเอง

และคว้าโอกาสเอาไว้ให้ได้คือแนวคิดที่สำคัญที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง

คนเราไม่ได้มีโอกาสดี ๆ เข้ามาบ่อยครั้ง แม้จะต้องพบเจอความล้มเหลวมากมายหลายครั้งก็อย่าย่อท้อ อย่าหมดหวังแต่ให้มองเป็นแรงผลักดันที่จะใช้สร้างโอกาสให้กับตัวเองให้ได้ และเมื่อใดที่โอกาสนั้นมาถึงแล้วก็จงพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ทำทุกอย่างให้เต็มที่เพื่อที่จะคว้าโอกาสสำคัญนั้นเอาไว้ให้ได้คือแนวคิดที่สำคัญที่ทำให้น้องนักเรียนอาชีวะทั้งสองประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงระดับประเทศให้กับตนเอง ให้กับสถานศึกษาและจังหวัดบ้านเกิดและเหมาะสมแล้วที่จะเป็นบุคคลต้นแบบที่น่ายกย่องในครั้งนี้

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

คุณ ศิริกมล แก้วแสงอ่อน ส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์วัฒนธรรม นำรายได้สู่ชุมชน คนต้นแบบเมืองนคร

นครศรีธรรมราชมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากจะมาเยี่ยมเยือนสักครั้งหนึ่ง แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวของนครศรีธรรมราชจะเป็นอย่างไร คนต้นแบบเมืองนครท่านนี้เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจโรงแรม จะมาบอกเล่าเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของนครศรีธรรมราช คุณ ศิริกมล แก้วแสงอ่อน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช กับการส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์วัฒนธรรม นำรายได้สู่ชุมชน

ความชื่นชอบภาษาอังกฤษ งานบริการ และจุดเริ่มต้นของธุรกิจโรงแรม

คุณศิริกมล เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากคุณพ่อทำงานราชการทำให้ชีวิตวัยเด็กของคุณศิริกมลมีโอกาสได้เดินทางไปหลายจังหวัด ส่วนตัวชื่นชอบภาษาอังกฤษและงานบริการจึงตัดสินใจเรียนระดับปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจ ปริญญาโทด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่ประเทศอังกฤษ นอกเหนือจากงานในภาคปฏิบัติแล้ว ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานบริหารจัดการสำหรับผู้ประกอบการ การเรียนที่ประเทศอังกฤษทำให้คุณศิริกมลเจอเพื่อนจากหลากหลายประเทศ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ

เริ่มงานแรกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการแผนกขายและการตลาด จากนั้นย้ายไปทำงานที่โรงแรมดุสิตธานีนานถึง 12 ปี แม้จะชื่นชอบงานด้านการโรงแรม แต่เรื่องของระบบศึกษาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณศิริกมลให้ความสำคัญเช่นกัน และมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเปิดโรงเรียนที่มีรูปแบบการศึกษาเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้ผ่านการเล่น สามารถคิดอย่างเป็นระบบ กล้าที่จะแสดงออก เด็กๆ สามารถแสดงความคิดเห็น ซักถาม หรือมีข้อโต้แย้งในชั้นเรียนได้

คุณศิริกมลเล่าว่า การทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ เวลาที่มีการประชุมหรือพูดคุยถึงประเด็นอะไรก็ตาม ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ แม้จะเห็นต่างแต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปร่วมกัน ช่วยให้การทำงานต่อจากนี้เป็นไปด้วยดี ซึ่งต่างจากรูปแบบการทำงานที่ทีมงานไม่กล้าแสดงความเห็นของตัวเองหรือไม่มีการเคลียร์อย่างชัดเจน

ในช่วงที่คุณพ่อของคุณศิริกมลใกล้เกษียณอายุราชการ ได้มีการพูดคุยกับทางครอบครัวว่าจะทำธุรกิจอะไรดี ธุรกิจโรงแรมกับธุรกิจโรงเรียนอินเตอร์คือสองทางเลือกที่อยู่ในความสนใจ เมื่อทำการสำรวจการตลาด (เมื่อ 14 ปีที่แล้ว) พบว่าธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ครบวงจรที่มีทั้งห้องพัก ห้องสัมมนา ห้องจัดเลี้ยงมีแค่ไม่กี่แห่ง ยังมีช่องวางทางตลาดค่อนข้างสูง ตอบโจทย์การลงทุนในระยะยาว ซึ่งการบริหารจัดการต้องเป็นไปตามบริบทของพื้นที่นั้น

คุณศิริกมลเล่าว่า หากนำเอาประสบการณ์การบริหารโรงแรมระดับ 5 ดาวมาใช้ทั้งหมดก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ อย่างการเทรนพนักงานก็เป็นเรื่องที่ต้องปรับและใช้เวลากันพอสมควร แม้เป็นโรงแรมเปิดใหม่ก็ใช่ว่าจะหาพนักงานง่าย ต้องทำให้พนักงานมีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานที่นี้

การทำธุรกิจโรงแรมที่นครศรีธรรมราช คุณศิริกมลให้เหตุผลว่า ส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างความเจริญให้กับจังหวัด ชื่อโรงแรมควรเป็นมงคลกับธุรกิจและเมืองที่อาศัย พยายามดึงอัตลักษณ์ของความเป็นนครศรีธรรมราช กลุ่มลูกค้าที่ตอบโจทย์คือ ลูกค้าที่เดินทางมาเข้าพักเพื่อสัมผัสประสบการณ์และกลิ่นอายของเมืองคอน ซึ่งในส่วนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเมื่อ 14 ปีที่แล้วต่างจากปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง การเข้าหาลูกค้าจะต้องเดินทางไปพบด้วยตัวเองเพื่อนำเสนอบริการและโปรโมชั่นจากทางโรงแรม ปัจจุบันลูกค้าสามารถเปรียบเทียบราคาที่พักผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการได้ ส่งผลให้การแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจโรงแรมสูงขึ้น อย่างการออกบูธตามงานท่องเที่ยวต่างๆ ราคาที่นำเสนอในงานต้องเป็นราคาที่ถูกกว่า Walk in

บทบาทของนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช กับการส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์วัฒนธรรม นำรายได้สู่ชุมชน

ในช่วงที่คุณศิริกมลเป็นเลขาธิการสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในส่วนของผู้ประกอบการภาคีเครือข่ายท่องเที่ยวมีการช่วยคิดช่วยทำ ร่วมงานกับทางเทศบาล ออกแบบการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์กับนักท่องเที่ยวในกรณีที่มาเยือนนครศรีธรรมราชภาคธุรกิจโรงแรมจะเป็นในส่วนของห้องพักงานและงานจัดเลี้ยง ภาคการท่องเที่ยวชุมชนจะมุ่งไปที่การท่องเที่ยวในท้องถิ่น ไม่มีส่วนกลางเข้ามาช่วยประสานงาน บางครั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นอาจไม่เป็นที่ต้องการสำหรับนักท่องเที่ยวก็ได้ หรือมีรายละเอียดบางอย่างที่อาจลืมนึกถึง เพราะนักท่องเที่ยวแต่ละชาตินั้นมีอุปนิสัยต่างกัน ทางคุณศิริกมลและทีมงานได้เข้าไปช่วยเหลือในส่วนของการท่องเที่ยวชุมชนให้กับชาวบ้าน เช่น การจัดกิจกรรม ออกแบบแพคเกจการท่องเที่ยว และส่งเสริมสินค้าท้องถิ่น สามารถวัดผลได้จากตัวเลขของยอดขายสินค้าที่ระลึก บ่อยครั้งที่ลูกค้าเห็นแค่สินค้าแต่ไม่ซื้อ ควรจะต้องแสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิต บอกเล่าที่มาที่ไปของสินค้าชิ้นนั้น เมื่อลูกค้าเข้าใจในเรื่องราวและเห็นถึงคุณค่า ทำให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น

คุณศิริกมลให้ความเห็นว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวของนครศรีธรรมราชจากอดีตถึงปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ขึ้นอยู่กับว่าในช่วงเวลานั้นอะไรคือสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจ อย่างช่วงที่กระแสของ “จตุคามรามเทพ” เคยโด่งดัง ส่งผลให้ระยะเวลาในการเข้าพักของนักท่องเที่ยวนานขึ้น แต่พอมาถึงช่วง “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” กลายเป็นว่าคนแวะมาไหว้แล้วเดินทางกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจที่มาบนขอพรไว้ ไม่มีเหตุที่จะต้องพักค้างคืน เมื่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นเช่นนี้ จึงไม่สามารถที่จะขายโปรแกรมเพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวอยู่นานกว่าเดิมได้ ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และบริษัททัวร์ ก็ต้องมาช่วยกันออกแบบว่าจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวพักค้างคืนและเที่ยวชมสถานที่อื่นๆ ภายในจังหวัด

จากโครงการงานวิจัยของทางมหาวิทยาลัยที่คุณศิริกมลเข้าไปมีส่วนร่วม ทำให้มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการสร้างชิ้นงานต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราช อย่างเครื่องถมก็ต้องเป็นคนที่ตั้งใจจริงถึงจะเดินทางไปชม เมื่อปรึกษากับทาง DMC (Destination Management Company ) เมืองท่องเที่ยว และเอเจนซี่ก็ได้ให้ไอเดียเกี่ยวกับการทำ Work shop เช่น ภายในเวลา 1 ชม. นักท่องเที่ยวสามารถจะทำอะไรได้บ้าง ขณะเดียวกันเป็นการสร้างรายได้สู่ชุมชน

ความพร้อมของนครศรีธรรมราชกับการเป็น MICE City

MICE City ไมซ์ซิตี้ คือ เมืองแห่งการจัดประชุมและนิทรรศนาการ ไมซ์ (MICE) ย่อมาจากคำว่า Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions (หรือบางครั้ง C หมายถึง Conferencing และ E หมายถึง Events) ซึ่งมีกรอบในการประเมินมาตรฐาน 8 ด้าน คุณศิริกมลให้ความเห็นว่า ในส่วนของผู้ประกอบการโรงแรม การขอเข้าประเมินไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก แต่ต้องดูบริบทของภาคีเครือข่ายร่วมด้วย ซึ่งต้องเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะกลุ่มของไมซ์ส่วนใหญ่เป็นระดับผู้บริหาร โปรแกรมการประชุมจะมีการท่องเที่ยวและกิจกรรมแทรกอยู่ด้วย ปัจจุบันบริษัททัวร์หลายที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวชุมชนมากขึ้น แต่เป็นการท่องเที่ยวชุมชนที่อาจไม่ตอบโจทย์กลุ่มตลาดไมซ์ อย่างในนครศรีธรรมราช อำเภอพรหมคีรีมีการทำในส่วนของไมซ์กับโจทย์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมกับเครือข่ายใกล้เคียง นำสินค้ามาแชร์กัน ด้านการออกแบบการท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องพาลูกค้าไปในทุกที่ แต่ต้องทำให้ลูกค้าอยากที่จะกลับมาเที่ยวอีกครั้ง

แม้ช่วงโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว แต่การร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถช่วยกันประคับประคองให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไปได้  หลังจากนี้ต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน เชื่อว่าหลังผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไป นครศรีธรรมราชจะกลับมาคึกคักอีกครั้งอย่างแน่นอน

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

คุณ เจริญ โต๊ะอิแต ผู้นำชุมชนอนุรักษ์ พิทักษ์สัตว์ทะเล คนต้นแบบเมืองนคร

เมื่อความต้องการบริโภคอาหารทะเลสูงขึ้น ส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลนับวันจะยิ่งลดลงและถูกทำลายไปเรื่อยๆ การฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติที่ต้องอาศัยระยะเวลานาน จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องจัดการให้เร็วที่สุด เช่นเดียวกับที่บุคคลต้นแบบเมืองนครท่านนี้ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่า จากบทบาทการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูชายฝั่ง จนเกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง เพื่อให้ลูกหลานได้มีทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์บริโภคกันต่อไป คุณเจริญ โต๊ะอิแต (บังมุ) ผู้นำชุมชนอนุรักษ์ พิทักษ์สัตว์ทะเล

ผู้อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน

ครอบครัวของคุณเจริญอพยพมาจากรัฐตรังกานู หนึ่งในรัฐของประเทศมาเลเซีย ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช คุณเจริญเกิดที่อำเภอท่าศาลาเติบโตมากับวิถีชาวประมงพื้นบ้าน เมื่ออายุประมาณ 10-11 ปี มีโอกาสได้ออกทะเล จากนั้นจึงชื่นชอบการออกทะเล อยากรู้ว่าทะเลที่กว้างใหญ่นั้นมีอะไรบ้าง คุณเจริญเล่าว่า การที่จะออกทะเลได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องทำความคุ้นชินกับทะเลก่อน อย่างน้อยก็ต้องไม่เมาคลื่น จากนั้นก็เรียนรู้เรื่องกระแสน้ำ กระแสลม สภาพอากาศ อย่างศาสตร์ในการฟังเสียงปลา ที่เรียกว่า “ดูหลำ” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ในการตรวจจับหาฝูงปลา ต้องอาศัยความชำนาญและการฝึกฝน อย่างทิศทางลมของนครศรีธรรมราชมี 8 ทิศ ธรรมชาติของลมจะเปลี่ยนทิศทางทุก 3 เดือน

คนสมัยก่อนจะออกเรือโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ อาศัยแรงลมในการพาเรือเข้าและออกจากฝั่ง ทรัพยากรสัตว์น้ำมีเยอะมาก สามารถจับปูได้บริเวณหน้าหาด ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำประมงเพื่อยังชีพ นำสัตว์น้ำที่จับได้ไปแลกกับข้าวสารหรือสิ่งของอื่นๆ จากประสบการณ์ที่สะสมมาเรื่อยๆ และความชื่นชอบเกี่ยวกับทะเล ทำให้คุณเจริญไม่อยากที่จะไปทำอาชีพอื่น เมื่อการทำประมงเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องใช้เครื่องมือเพื่อให้จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น หากขาดการควบคุมและระบบการจัดการที่ดี จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลและทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว

บทบาทการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูชายฝั่ง และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง

คุณเจริญเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนงานการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพราะเห็นว่ามีการลักลอบทำประมงอย่างผิดกฏหมายในเขตพื้นที่ ต้องการเพียงแค่หอยลาย แต่กลับใช้เครื่องมือที่กอบโกยเอาทรัพยากรอื่นๆ ทางทะเลไปด้วย การใช้ตะแกรงเหล็กกวาดเอาทุกอย่างออกไป ทำให้หน้าโคลนถูกขุดขึ้นมา เกิดแก๊สไข่เน่าบนผิวน้ำ สัตว์น้ำบริเวณนั้นจึงไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ชาวบ้านแถวนั้นจึงไม่สามารถทำประมงได้ ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูนานหลายปี จึงอยากให้ชาวบ้านทุกคนตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและจะส่งผลอย่างไรในอนาคตหากไม่ร่วมมือกัน น่าเศร้าที่เสียงของชาวบ้านไม่ดังพอที่จะเรียกความสนใจจากหน่วยงานรัฐให้เข้ามาช่วยเหลือ ชาวประมงท้องถิ่นจึงประสบกับปัญหาเรื่อยมา

อุดมการณ์ที่อยากจะปกป้องท้องทะเลของคุณเจริญ จึงทำให้หาวิธีการเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ จนมีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาแนะนำว่าให้ไปเรียนรู้งานจากพื้นที่อื่น  คุณเจริญและชาวบ้านคนอื่นๆ ได้เดินทางไปเรียนรู้เกี่ยวกับงานอนุรักษ์ฟื้นฟูที่จังหวัดสตูล ซึ่งได้มีการนำไม้ไผ่ไปปักในทะเล หลังจากนั้นก็จะมีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัย ทำให้ชาวบ้านสามารถหากินบริเวณนั้นได้ จึงนำวิธีนี้มาปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง เป็นกิจกรรมทำบ้านปลาที่ทำในช่วงต้นเดือนมีนาคม เมื่อจำนวนสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ผู้คนที่เคยไปทำงานที่อื่นก็เริ่มทยอยกลับสู่ชุมชน คุณเจริญเล่าว่า เราต้องปกป้องแหล่งอาหารของบ้านเรา ทำแนวเขตอนุรักษ์ เริ่มลงมือทำตั้งแต่ปี 2545 เรื่อยมา ซึ่งชาวบ้านในกลุ่มอนุรักษ์บางคนมีหนี้นอกระบบ จึงเกิดความคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ปลดภาระหนี้สิน สามารถบริหารจัดการเงินได้ง่ายขึ้น ช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบกับปัญหาทางการเงิน ทางกลุ่มจึงจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา โดยฝากเงินเดือนละ 50 บาท ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 200 คน มีเงินหมุนเวียนล้านกว่าบาท

คุณเจริญเล่าว่า ในช่วงปี 2535 – 2540  จำนวนปูม้าเยอะมาก สามารถจับได้ถึง 100 กิโลกรัมต่อวัน ราคาสูงสุดในตอนนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 16 บาท จนมาถึงปี 2548 จำนวนปูม้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปในอนาคตอาจไม่มีปูม้าให้กิน คุณเจริญจึงตัดสินใจหาข้อมูลและไปดูงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วง 2-3 ปีแรกที่ทำกระชังปูลอยน้ำ แม้ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดไว้แต่คุณเจริญก็ไม่ย่อท้อ จากนั้นมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และหน่วยงานรัฐเข้ามาให้การช่วยเหลือในการทำธนาคารเลี้ยงปูมา ช่วงแรกค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ต้องใช้อุปกรณ์ค่อนข้างเยอะ ต้องใช้เวลากว่าที่ชาวบ้านจะเข้าใจแนวคิดนี้ เมื่อธนาคารปูม้าเริ่มไปได้ดี ทำให้คุณเจริญมีกำลังใจในการที่จะขับเคลื่อนงานมากขึ้น ปัจจุบันมีเครือข่ายธนาคารปูม้า 22 จังหวัด การทำธนาคารปูม้า ทำให้มีจำนวนปูม้าเพิ่มขึ้น เมื่อชาวประมงจับปูได้ก็สร้างรายได้ให้กับครอบครัว

ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการให้ความรู้เชิงวิชาการ และประสบการณ์ของชาวบ้านที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำประมง อย่างโรงเรียนชาวประมงในหมู่บ้าน เกิดจากแนวคิดที่อยากให้เด็กๆ รู้จักสัตว์น้ำ เรียนรู้เรื่องลม การใช้เครื่องมือต่างๆซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่มีสอนในห้องเรียน ส่วนบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปเรียนรู้วิถีชาวประมง ท่องเที่ยวเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้เช่นกัน โดยที่ทางศูนย์การเรียนรู้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แหล่งอาหารมาเป็นอันดับแรก ในอนาคตมีโครงการเปิดร้านอาหารลุยเล เพื่อให้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองรู้จักตัวตนของชุมชนมากขึ้น อยากให้ผู้บริโภคทานอาหารทะเลอย่างปลอดภัยและมีความสุข

ชาวประมงพื้นบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ทะเล แต่ทรัพยากรทางทะเลเป็นของเราทุกคน ดังนั้นทุกคนควรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ในฐานะผู้บริโภคสามารถมีส่วนช่วยในการปกป้องทะเลด้วยการไม่สนับสนุนสัตว์น้ำวัยอ่อน งดการกินปูไข่นอกกระดอง เป็นการส่งสารจากคนกินถึงผู้ขายกลับไปสู่ชาวประมง และที่สำคัญควรบริโภคแต่พอดี เพื่อรักษาสมดุลในระบบนิเวศ และส่งต่อทรัพยากรทางทะเลไปสู่คนรุ่นหลังอย่างยั่งยืน

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

คุณ จิรเดช เพ็งรัตน์ สืบสานมโนราห์ ดำรงคุณค่าศิลปเมืองนคร  คนต้นแบบเมืองนคร

โนรา หรือมโนราห์ มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ศิลปะการแสดงที่มีมานานกว่าร้อยปี โดดเด่นด้วยท่วงท่าที่อ่อนช้อยแต่แฝงไปด้วยความแข็งแกร่ง กว่าที่จะเป็นโนราได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด คนต้นแบบเมืองนครที่ทางนครศรีสเตชั่นอยากแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก เป็นผู้ก่อตั้งคณะโนราเยาวชนในนครศรีธรรมราช คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับรางวัลการันตีความสามารถ มากมาย ศิลปินรางวัลพระราชทาน “เยาวชนแห่งชาติ” ประจำปี 2562 คุณ จิรเดช เพ็งรัตน์ กับบทบาทในการสืบสานมโนราห์ ดำรงคุณค่าศิลปเมืองนคร

พรสวรรค์ด้านการขับร้อง และความชื่นชอบที่มีต่อศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้

ช่วงเวลาในวัยเด็ก บ่อยครั้งที่คุณแม่มักจะร้องเพลงลูกทุ่งให้ฟัง ทำให้คุณจิรเดชค่อยๆ ซึมซับและชื่นชอบในการร้องเพลง เมื่อแถวบ้านมีการจัดงานรื่นเริงต่างๆ มักจะได้รับโอกาสให้ร้องเพลงเป็นประจำ จนทำให้กลายเป็นคนที่กล้าแสดงออกตั้งแต่เด็ก เมื่อคุณตาเห็นพรสวรรค์ทางด้านนี้ก็อยากที่จะพาคุณจิรเดชไปฝากตัวกับคณะมโนราห์ที่รู้จักกัน ทั้งที่ในตอนนั้นคุณจิรเดชก็ไม่รู้ว่ามโนราห์คืออะไร

จนวันหนึ่งมีโอกาสได้ดูเทปการแสดงของคณะมโนราห์เพ็ญศรี ยอดระบำ ก็รู้สึกชื่นชอบการแสดงนั้นทันที จนต้องขอยืมเทปกลับมาดูที่บ้านซ้ำๆ หลายรอบ สามารถจดจำเนื้อร้องได้ขึ้นใจทั้งๆ ที่ตัวเองก็พูดภาษาใต้ไม่ได้ ช่วงที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขณะที่คุณจิรเดชกำลังร้องเพลงโนราห์ในคาบพักกลางวันของโรงเรียนอยู่นั้น

คุณครูที่ได้ยินจึงเดินตามหาเจ้าของเสียง และชักชวนให้คุณจิรเดชเข้าชมรมนาฏศิลป์ เมื่อทางโรงเรียนได้รับเชิญให้ไปร่วมงานที่จังหวัดกาญจนบุรี ชมรมนาฏศิลป์จึงทำการคัดตัวนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแสดง ในครั้งนั้นคุณจิรเดชไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากยังรำมโนราห์ไม่เป็น จึงได้เริ่มแกะท่ารำมโนราห์จากเทปการแสดงแล้วฝึกฝนด้วยตนเอง พร้อมทั้งฝึกรำกับทางชมรมนาฏศิลป์ที่ได้เชิญวิทยากรมาเป็นผู้ฝึกสอน และมีโอกาสได้ขึ้นเวทีร่วมกับเพื่อนๆ ในชมรม

ทักษะการร้องอันเป็นพรสวรรค์ของคุณจิรเดช จึงได้รับการชักชวนจากคณะมโนราห์ให้ไปทำการแสดงตามงานต่างๆ นอกเหนือจากการแสดงของทางโรงเรียน ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสพูดคุยทักทายกับโนราห์แม่เพ็ญศรี ศิลปินที่คุณจิรเดชชื่นชอบเป็นการส่วนตัวและยังเป็นญาติของตัวเองอีกด้วย

จนมาถึงโอกาสครั้งสำคัญที่สร้างความตื่นเต้นให้คุณจิรเดชอย่างมาก เมื่อรู้ว่ากำลังจะได้ทำการแสดงบนเวลาเดียวกันกับโนราห์แม่เพ็ญศรี บทกลอนที่ใช้ขับร้องในวันนั้นแน่นอนว่าเป็นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ

หลังจากนั้นไม่นานคุณจิรเดชก็ได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมกับทางคณะมโนราห์เพ็ญศรี ซึ่งงานแรกที่ได้ร่วมแสดงจัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา การที่ได้ดูการแสดงของแต่ละคณะบนเวทีทำให้คุณจิรเดชค่อยๆ ซึมซับบทกลอนทีละน้อย ความพิเศษของบทกลอนมโนราห์อยู่ตรงที่ภาษาถิ่นที่ใช้จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

คุณจิรเดชเล่าว่า ช่วงแรกที่เข้าสู่วงการมโนราห์ ตนเองไม่ได้รับการยอมรำในเรื่องของการร่ายรำสักเท่าไหร่ คนส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่เสียงร้องมากกว่า เรียกได้ว่าในตอนนั้นยังไม่มีต้นแบบในการรำ จนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนต้น มีโอกาสได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับ “แม่สำเนา” ครูคนแรกที่ฝึกสอนการร่ายรำให้กับคุณจิรเดช ซึ่งการร่ายรำมโนราห์ไม่ใช่แค่ท่วงท่าที่ต้องตรงตามจังหวะเท่านั้น

แต่ต้องรำแบบมีจริตจะก้าน เพื่อให้แสดงออกมาได้อย่างสวยงาม จากนั้นได้แสดงคู่กับแม่สำเนาตามงานต่างๆ คุณจิรเดชให้ความเห็นว่าโนราห์พัทลุงและสงขลามีท่ารำที่งดงามอ่อนช้อย ส่วนโนราห์นครศรีธรรมราชจะเด่นทางด้านบทกลอน จากนั้นจึงเริ่มฝึกฝนการร่ายรำอย่างจริงจัง

สืบสานมโนราห์ ดำรงคุณค่าศิลปเมืองนคร

เมื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาสักระยะ คุณจิรเดชตัดสินใจตั้งคณะโนราเยาวชนในนครศรีธรรมราช (คณะโนรามอส ยอดระบำ) ซึ่งนักแสดง นักดนตรี เป็นเยาวชนทั้งหมด นอกจากการแสดงตามงานต่างๆ ที่ได้รับเชิญแล้ว คุณจิรเดชได้ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากในการเผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงมโนราห์ อย่างการลงคลิปใน TiKTok และ Facebook  มีคนเข้ามาชมและคอมเม้นต์กันไม่น้อย

การชมมโนราห์ให้สนุกนั้น คุณจิรเดชแนะนำว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการรำมโนราห์ ท่วงท่าการร่ายรำจะผสมผสานระหว่างความอ่อนช้อยและความแข็งแรงทะมัดทะแมง ถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงชนิดนี้ เครื่องดนตรีโนราห์ที่ให้จังหวะหนักแน่น โดยเฉพาะเสียงปี่ที่สามารถสะกดผู้ฟังได้อยู่หมัด ใช่ว่าคนใต้ทุกคนจะฟังมโนราห์กันรู้เรื่อง แต่อยากให้เปิดใจรับชมด้วยความเพลิดเพลิน ไม่ต่างกับการฟังเพลงของศิลปินต่างประเทศทั้งที่บางทีเราเองก็ไม่เข้าใจความหมายของเนื้อร้องด้วยซ้ำ แต่กลับชื่นชอบในท่วงทำนองและการแสดงได้แม้รับชมแค่ครั้งแรกเท่านั้น

คุณจิรเดชให้ความเห็นว่า ทุกวันนี้คนดูมโนราห์กันน้อยลง จำนวนนักแสดงมีสัดส่วนมากกว่าผู้ชมเสียอีก จึงอยากให้ศิลปะการแสดงของภาคใต้อย่างมโนราห์เป็นที่รู้จักในภาคอื่นๆ เช่นกัน ปัจจุบันการแสดงมโนราห์มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย มีการสอดแทรกมุกตลกผ่านทางบทกลอน เพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้แก่ผู้ชม ในแง่ของการแสดงโนราห์ในยุคนี้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าในอดีต ในส่วนของพิธีกรรมยังคงแบบฉบับดั้งเดิมไว้อยู่

ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรที่สังคมมีการรับวัฒนธรรมต่างชาติ ในขณะที่การแสดงพื้นบ้านบางอย่างได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ จำนวนผู้สืบทอดก็ลดลงเช่นกัน คงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจและน่าเสียดายอย่างมาก หากปล่อยให้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างมโนราห์สูญหายไปจากวัฒนธรรมไทย เราทุกคนควรช่วยกันส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้ไว้ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ

PEA​ บรรเทาภาระค่าไฟฟ้า​ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมผู้มีบัตรฯ ให้สามารถได้รับประโยชน์จากมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็นระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิ) กรณีใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ เป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมดและหากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับผู้ที่มีบัตรฯ และประสงค์จะขอรับสิทธิ สามารถลงทะเบียน ขอรับสิทธิได้ที่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA Shop PEA Mobile Shop Application PEA Smart Plus และ www.pea.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1129 PEA Contact Center ตลอด 24 ชั่วโมง (ผู้ที่เคยลงทะเบียนแล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก)

ข่าว : กองสื่อสารองค์กร ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

คุณ นรานันทน์ จันทร์แก้ว  ฅนต้นแบบเมืองนคร สร้างเรื่องราว บอกเรื่องเล่าตำนานผ่านเนื้อเพลง

การร้องเพลงเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สื่อสารผ่านน้ำเสียง ถ่ายทอดเนื้อร้องควบคู่กับท่วงทำนอง ทำให้เกิดความเพลิดเพลินแก่ผู้ฟัง เนื้อร้องมักถูกกลั่นกรองมาจากประสบการณ์และความรู้สึกของผู้แต่ง แต่ละบทเพลงมีความหมายที่ต่างกันออกไป เช่นเดียวกับฅนต้นแบบเมืองนครท่านนี้ที่สร้างสรรค์บทเพลงอันไพเราะ จนได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงในวงการเพลงไทย นักประพันธ์เพลงที่สามารถสร้างเรื่องราว บอกเล่าตำนานท้องถิ่น ผ่านเนื้อเพลงที่สื่อถึงนครศรีธรรมราช คุณ นรานันทน์ จันทร์แก้ว

พรสวรรค์และความชื่นชอบในวัยเด็ก สู่จุดเริ่มต้นของนักประพันธ์เพลง

คุณนรานันทน์ หรือครูบอย มีความชื่นชอบและรักในเสียงเพลงตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่ง ครั้งแรกที่ได้ฟังเพลง “นัดพบหน้าอำเภอ” ที่ขับร้องโดยอดีตราชินีเพลงลูกทุ่ง คุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ สร้างความประทับใจให้คุณนรานันทน์เป็นอย่างมาก และเป็นเพลงเดียวที่คุณนรานันทน์ร้องได้ในตอนนั้น เมื่อโอกาสในการแสดงความสามารถได้มาถึง ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทางโรงเรียนได้จัดการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง แม้ไม่ได้รับรางวัล แต่เป็นการตอกย้ำความชื่นชอบในเสียงเพลง จนไปเจอกับเทปเทปคาสเซ็ทที่อยู่ในบ้าน เมื่อได้ลองเปิดฟังก็ชอบในเสียงร้องของศิลปินผู้นั้น โดยที่ตอนนั้นคุณนรานันทน์ไม่ทราบว่าคือ คุณเอกชัย ศรีวิชัย (นักร้องลูกทุ่งชาวใต้ชื่อดัง) จากนั้นได้ติดตามผลงานเรื่อยมา จนกลายมาเป็นศิลปินในดวงใจ

เนื้อเพลงแรกที่เขียนเริ่มต้นจากได้รับโจทย์จากอาจารย์ในวิชาดนตรี ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทำนองจากเพลง “รักเก่าที่บ้านเกิด” มาใส่เนื้อร้องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น (ตรงกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปีพ.ศ. 2540)

จากจุดเริ่มต้นในครั้งนั้นคุณนรานันทน์ได้เขียนเพลงสะสมมาเรื่อยๆ บ่อยครั้งที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้แต่งเพลงในกิจกรรมต่างๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

คุณนรานันทน์ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนมักจะพกสมุดเขียนเพลงติดตัวอยู่เสมอ ขณะที่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ทางมหาวิทยาลัยได้เชิญอาจารย์สลา คุณวุฒิ (ศิลปินและนักประพันธ์เพลงแนวลูกทุ่งอีสาน) มาเป็นวิทยากร เมื่อคุณนรานันทน์มีโอกาสนำเสนอบทเพลงที่เขียนให้อาจารย์สลาได้ฟัง จึงเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงมากขึ้น จากการเก็บเกี่ยวความรู้จากการอ่านหนังสือ พร้อมกับฝึกเขียนเพลงมาเรื่อยๆ

จนวันหนึ่งคุณนรานันทน์ได้รับการติดต่อจากค่ายเพลงชื่อดัง (จากการแนะนำของอาจารย์สลา) แม้ว่าบทเพลงที่เขียนยังไม่ได้นำเสนอสู่สาธารณชน แต่ก็ไม่ทำให้คุณนรานันทน์รู้สึกท้อ แม้จะเป็นเพียงนักแต่งเพลงมือสมัครเล่น แต่ก็หวังว่าสักวันจะมีโอกาสแต่งเพลงให้กับศิลปินชื่อดัง

สร้างเรื่องราว บอกเรื่องเล่าตำนานผ่านเนื้อเพลง และโอกาสที่ได้แต่งเพลงให้ศิลปินในดวงใจ

คุณนรานันทน์ มีแนวคิดว่า หากนำเรื่องราวต่างๆ ในนครศรีธรรมราชมาบอกเล่าผ่านบทเพลง ผู้ฟังน่าจะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ได้ง่ายขึ้น บทเพลงก็เหมือนกับการเขียนเรื่องสั้นที่สรุปสาระสำคัญให้สามารถเข้าใจได้ง่าย มีหลายบทเพลงที่คุณนรานันทน์แต่งเกี่ยวกับนครศรีธรรมราช หยิบเรื่องราวที่น่าสนใจของนครศรีธรรมราชมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแต่งเพลง อย่าง “เพลงเทพบุตรพญานคร”ที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในเวทีการประกวดเทพบุตรพญานคร ช่วงงานประเพณีสารทเดือนสิบ ต้องนำเสนอเรื่องราวของนครศรีธรรมราชให้เหมาะสมกับงานโชว์ และที่สำคัญคือ ต้องเป็นแนวเพลงที่เข้ากับคุณเอกชัย ศรีวิชัย ซึ่งเป็นศิลปินผู้ขับร้องเพลงนี้ ถือเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยากสำหรับคุณนรานันทน์

“เพลงนุ้ยเคยไลน์” บทเพลงที่หยิบเอาความแตกต่างทางภาษามาขยายความ เป็นเพลงที่โด่งดังมากในภาคใต้ เปิดกันแทบทุกงานประเพณีของทางใต้ จุดเริ่มต้นจากการที่คุณนรานันทน์ได้ยินบทสนทนาทางโทรศัพท์ของบุคคลที่นั่งอยู่ข้างๆ กับคำถามจากปลายสายว่า “เคยไลน์หม้าย?” กลายเป็นไอเดียที่คุณนรานันทน์อยากนำมาเขียนเพลง โดยนำเอาทำนองเพลงมอญท่าอิฐมาเป็นท่อนสร้อย (ท่อนที่จะร้องซ้ำ) บวกกับแรงบันดาลใจจากเนื้อเพลงบางส่วนของ “เพลงฉันทนาที่รัก” จนได้เพลงนุ้ยเคยไลน์ที่มีท่วงทำนองสนุกสนาน คนใต้ฟังแล้วจะหรอย ขับร้องโดยศิลปิน นุ้ย สุวีณา อาร์สยาม ซึ่งเพลงนี้มียอดวิวใน Youtube แตะหลักล้าน ตอกย้ำความนิยมในตัวศิลปิน และเป็นอีกผลงานที่สร้างชื่อให้คุณนรานันทน์

อยากเป็นนักแต่งเพลง เริ่มต้นอย่างไร

อยากเป็นนักแต่งเพลง ไม่ใช่แค่ชอบเขียนเรื่องราวต่างๆ และรักในเสียงเพลงเท่านั้น ต้องฟังเพลงให้เยอะ ฝึกเขียนบ่อยๆ นำทั้งสองอย่างมาเชื่อมโยงกัน และศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการแต่งเพลงเพิ่มเติม คุณนรานันทน์ ให้ความเห็นว่า ศิลปะไม่มีผิดหรือถูก ไม่มีขอบเขต เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนบุคคล การเขียนเพลงต้องรู้ว่า เขียนให้ใคร เขียนเพื่ออะไร เขียนเพลงแนวไหน เช่น เขียนเพลงให้นักร้องคนหนึ่ง ต้องรู้ว่านักร้องคนนั้นมีแนวเสียงเป็นอย่างไร ควรใช้คำหรือเล่าเรื่องอะไรให้ตรงกับคาแร็กเตอร์  แต่ละแนวเพลงไม่มีรูปแบบตายตัว สามารถนำมาดัดแปลงผสมผสานกันได้ ทุกครั้งที่จรดปากกาเขียนเพลง คุณนรานันทน์จะบันทึกช่วงเวลาไว้ทั้งหมด สำหรับบทเพลงลูกทุ่ง ฉันทลักษณ์คือสิ่งสำคัญมาก รูปแบบในการแต่งเพลง สามารถแบ่งได้ 3 แบบ คือ เริ่มจากการเขียนกลอนแปด ค่อยใส่ทำนองทีหลัง สร้างทำนองขึ้นมาก่อน แล้วใส่เนื้อร้องทีหลัง แต่งเนื้อร้องและทำนองไปพร้อมกัน เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด

ดนตรีเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน แม้ผู้ฟังสื่อสารด้วยภาษาที่ต่างกัน แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคในการเข้าถึงบทเพลงนั้น การสร้างสรรค์งานดนตรีจึงไม่เคยหยุดนิ่ง ทำนองอันไพเราะไม่เพียงแต่สร้างความผ่อนคลาย ความสนุกสนาน หรือก่อให้เกิดความสุขเท่านั้น แม้แต่ท่วงทำนองแห่งความเงียบ ก็มีบางอย่างที่ถูกถ่ายทอดออกมา ขึ้นอยู่กับผู้ฟังว่าสามารถเข้าใจและเข้าถึงได้หรือไม่…นั่นเอง

ดูคลิปสัมภาษณ์

ชมรายการ Live สด  “ฅนต้นแบบ งานต้นแบบ เมืองนคร” ได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๙.๓๐-๒๐.๓๐ น. ได้ที่นี่

*****************************************

ร่วมสนับสนุนผลิตสื่อ “สร้างรายได้ชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยว” ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ นำสินค้ามาขายร่วมกัน Nakhonsistation 092-6565-298 คุณ เกียรติ