ปลาใส่อวน ปลาส้มปักษ์ใต้ ของดีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทุกท่านรู้จัก ปลาใส่อวน หรือ ที่เรียกกันว่าปลาส้มปักษ์ใต้ กันหรือเปล่าค่ะ?

บางท่านอาจจะรู้จักแล้วหรือบางท่านอาจจะยังไม่รู้จัก  วันนี้นครศรีสเตชั่นจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับปลาใส่อวนหรือปลาส้มปักษ์ใต้ สินค้าของดีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช หนึ่งในสินค้า O-TOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มารู้จักกับปลาใส่อวนที่มีทั้งเรื่องราวและความหมายรวมไปถึงความอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของปลาใส่อวน แอดมินขอรับรองเลยว่าถ้าหากทุกท่านได้อ่านบทความนี้จะต้องหิวและอยากลองทานปลาใส่อวนขึ้นมาอย่างแน่นอนค่ะ ถ้าอย่างนั่นเราอย่ารอช้ามาทำความรู้จักกับปล่าใส่อวนกันเลยค่ะ

ความหมายของ ปลาใส่อวน หรือที่เรียกกับอีกชื่อหนึ่งว่าปลาส้มปักษ์ใต้

ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารชนิดนึงจากปลา ที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องปรุงหลักๆคือ ปลา เกลือ น้ำตาล ข้าวสุก ข้าวเหนียว หรือข้าวคั่ว ตามแต่ละท้องถิ่น ผสมกัน หมักจนมีรสเปรี้ยว และในส่วนของวิถีชีวิตชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช​จะใช้ข้าวคั่วหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า”อวน” เป็นส่วนผสมในการหมักปลาให้เกิดรสชาติเปรี้ยว ชาวบ้านจึงเรียกอาหารชนิดนี้กันแบบเข้าใจง่ายๆตามภาษาท้องถิ่นคนนครว่า”ปลาใส่อวน” ก็คือปลาที่ใส่ข้าวคั่ว(อวน)​จนมีรสชาติเปรี้ยวนั่นเองค่ะ” 

ปลาใส่อวนโมเดิร์น ร้านครัวแม่แดง@ทุ่งสง สินค้าของดีอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณอารีรัตน์ วิเชียรชม ได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของปลาใส่อวน​โมเดิร์น​(ปลาส้มปักษ์ใต้)​ ร้านครัวแม่แดง@ทุ่งสง ว่า แรกเริ่มเดิมทีคือต้องการแก้ปัญหาปลาดุกที่เลี้ยงกันภายในครัวเรือน แล้วไม่มีแหล่งกระจายวัตถุดิบเมื่อปลาที่เลี้ยงไว้อายุครบกำหนดที่จะจับส่งขาย ก็เลยแก้ปัญหาตรงนั้นโดยการนำปลาที่เลี้ยงไว้มาแปรรูปเป็นปลาใส่อวนไว้ทานกัน ที่เหลือก็แจกจ่ายกันทาน และแบ่งขาย กลายเป็นว่าคนที่ได้ทานเกิดติดใจ และชอบรสชาติในสูตรที่เราทำออกมา เลยมีการติดต่อเข้ามาขอซื้อกันค่อนข้างมาก ทางปลาใส่อวนโมเดิร์น ร้านครัวแม่แดง@ทุ่งสง มองเห็นช่องทางนี้ที่ในอนาคตจะเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นภายในครัวเรืิอน และชุมชนได้ ก็เลยเริ่มต้นตัดสินใจทำแปรรูปจำหน่ายแบบจริงจัง พร้อมทั้งปรับปรุง และพัฒนาในตัวผลิตภัณฑ์​กันมาเรื่อยๆจนมาถึงทุกวันนี้

วิธีการทอดปลาใส่อวน

  1. ใช้ไฟกลางและปริมาณน้ำมันที่พอเหมาะ รอให้น้ำมันร้อน
  2. และเมื่อน้ำมันร้อนดีแล้วก็นำปลาใส่อวนมาหย่อนใส่ลงไปในกระทะ (ข้าวคั่วบดที่อยู่ตัวปลาไม่ต้องล้างออก เพราะจะทำให้อร่อยกรุบกรอบ)
  3. รอจนปลาเหลืองกรอบแล้วค่อยพลิกลับด้าน
  4. และเมื่อเหลืองทั้ง 2 ด้านเท่ากันแล้ว ก็ตักขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน

เคล็ดลับความอร่อยแซ่บ คือ ซอยหอมแดง พริก มะนาว จะช่วยเพิ่มรสชาติความแซ่บเพิ่มมากขึ้นค่ะ

ได้รู้จักปลาใส่อวนทั้งเรื่องราวและความหมาย รวมไปถึงวิธีการทอดกันไปแล้ว รู้สึกหิวกันขึ้นมาหรือยังค่ะ? 

บางท่านก็อาจจะยังนึกถึงรสชาติของปลาใส่อวนไม่ออกใช่มั้ยค่ะ? ไม่เป็นไรค่ะเดี่ยวแอดมินจะบรรยายรสชาติของปลาใส่อวนให้ค่ะ ปลาใส่อวนที่เมื่อทอดจนกรอบแล้วจะมีรสชาติที่ไม่เปรี้ยวจัดจนเกินไปบวกกับความกรุบกรอบของข้าวคั่วที่ช่วยให้เมื่อทานเข้าไปจะรู้สึกเคี้ยวแล้วเพลิดเพลินไปกับรสชาติที่กลมกล่อม และเมื่อทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆหอมแดงและพริกก็จะเพิ่มรสชาติให้แก่ปลาใส่อวนมากขึ้นค่ะ แอดมินของรับประกันความอร่อยของปลาใส่อวนเลยค่ะ ว่าอร่อยจริงไม่จกตา และนอกจากจะอร่อยแล้วปลาใส่อวนก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยนะคะ

อย่าลืมนะคะ เมื่อมาเที่ยวนครศรีธรรมราชแล้ว ก็อย่าพลาดที่จะซื้อปลาใส่อวน สินค้าของดี อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลับไปเป็นของฝากกันนะคะ

Malong มาลอง ไวน์กระเจี๊ยบและลูกหว้า ของดี ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่

     เราไปเที่ยวที่ไหนก็ต้องซื้อของฝากของที่ระลึกติดไม้ติดมือกลับไปด้วย และสินค้าของดีของขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัดก็มีแตกต่างกันออกไป บางสินค้าผลิตหรือแปรรูปมาจากสิ่งที่มีอยู่ในหมู่บ้านในชุมชน แปรรูปเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและแปรรูปเพื่อไม่ในทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากสูญเสียไปอย่างไร้ประโยชน์

ถ้าพูดถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่แปรรูปจากผลไม้ ที่สามารถซื้อไปเป็นของฝาก หรือซื้อกับไปดื่มฉลอง สังสรรค์ เนื่องในโอกาสต่างๆ ก็ต้องหนีไม่พ้นไวน์ผลไม้นะคะ ถ้าจังหวัดเชียงใหม่มีไวน์สตอเบอรี่เป็นของขึ้นชื่อ จังหวัดนครศรีธรรมราชเราก็มีไวน์ขึ้นชื่อเหมือนกันนะคะ วันนี้แอดจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Malong ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระเจี๊ยบและลูกหว้า ผลไม้ในท้องถิ่น ตำบลการะเกด อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

คุณบุญมาก ประธานวิสาหกิจชุมชนบางขี้หมู เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะเกิดขึ้นเป็นไวน์กระเจี๊ยบ ทางวิสาหกิจชุมชนได้ผลิตแยมกระเจี๊ยบขึ้นมาก่อน และเมื่อผลิตแยมกระเจี๊ยบแล้วมีน้ำกระเจี๊ยบเหลือเป็นจำนวนมากจึงไม่อยากจะทิ้งให้น้ำกระเจี๊ยบเสียประโยชน์ไปเปล่าๆ จึงนำน้ำกระเจี๊ยบที่เหลือมาทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบสดขาย แต่ด้วยน้ำกระเจี๊ยบสดมีอายุการเก็บรักษาไว้ทานนั่นได้ไม่นาน จึงต้องคิดหาวิธีทำให้การเก็บรักษาของน้ำกระเจี๊ยบให้นานกว่าเดิม จึงเกิดการประชุมหาวิธีกันในกลุ่มวิสาหกิจ และได้ข้อสรุปกันว่าจะผลิตไวน์กัน เริ่มศึกษาและทดลองผลิตไวน์กระเจี๊ยบจนสำเร็จผล และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงคิดจะหาผลไม้ท้องถิ่นมาผลิตไวน์เพิ่มอีก และได้เห็นลูกหว้าที่เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่มีผล ที่ใกล้จะสูญพันธุ์จึงนำลูกหว้ามาแปรรูปผลิตเป็นไวน์ลูกหว้า เพื่อที่จะได้อนุรักษ์ลูกหว้าผลไม้ท้องถิ่นของชุมชน และเพื่อเป็นเจ้าแรกที่แรกที่ผลิตไวน์ลูกหว้า และได้รับการรับรองมาตรฐานโดยกรมสรรพสามิตอีกด้วยนะคะ

รสชาติของไวน์กระเจี๊ยบและไวน์ลูกหว้ามีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และในปัจจุบันนี้มีไวน์สัปปะรดเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย ไวน์สัปปะรดจะมีสีและรสชาติที่ออกไปทางไวน์ขาว จากการที่แอดมินได้ลองชิมนะคะ ไวน์กระเจี๊ยบจะมีรสชาติดื่มง่ายค่ะเหมาะกับผู้หญิงรสชาตินุ่มนวลและเบาบาง ส่วนไวน์ลูกหว้าจะมีรสชาติและรสสัมผัสที่หนักแน่นกว่าแอดมินเลยคิดว่าไวน์ลูกหว้าน่าจะเหมาะกับผู้ชายหรือคนไหนที่ชอบดื่มแบบเข้มๆค่ะ

ขอแนะนำเลยนะคะถ้ามาเที่ยวที่อำเภอเชียรใหญ่แล้วอย่าลืมแวะมาชิม แวะมาช็อป ซื้อกลับไปเป็นของฝาก สาย L คือพลาดไม่ได้เลยนะคะ แต่ถ้าหากไม่ดื่มไวน์ก็สามารถซื้อแยมกระเจี๊ยบแทนก็ได้นะคะ ผลิตภัณฑ์ของ Malong สามารถซื้อกลับไปฝากให้คนในครอบครัวได้ทั้งครอบครัว แยมกระเจี๊ยบสามารถทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนไวน์ก็สามารถซื้อมาเป็นของฝาก ของที่ระลึก หรือซื้อมาดื่มฉลอง สังสรรค์กันได้อย่างมีความสุขเลยค่ะ

 

กาแฟปูนา ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ ตำบลตรอกแค อำเภอชะอวด

กาแฟปูนา เป็นกาแฟแบบไหน พอจะเดาออกกันมั้ยค่ะ ? จะเป็นนั่งดื่มกาแฟชมทุ่งนา ชมปูนา หรือกาแฟขี้ปูนาอารมณ์คล้ายๆกาแฟขี้ชะมด แล้วปูนาจะมาอยู่ในกาแฟได้อย่างไร? แล้วมันจะรสชาติอย่างไร? จะคาวหรือเปล่า?

วันนี้มาหาคำตอบของคำถามพวกนี้ไปพร้อมๆกันแอดมินนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็มาอ่านเรื่องราวของกาแฟปูนากันนะคะ

คุณสนั่น เจ้าของตลาดใต้ต้นปาล์มริมคลองตรอกแค เล่าให้ฟังว่า ในสมัยก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่รกร้างของครอบครัว ถูกละทิ้งไว้หลายปี จนคุณสนั่นมีแนวคิดที่จะปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตรงนี้ ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นแหล่งเรื่องรู้ในการนำผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ และมีโฮมสเตย์ที่เน้นธรรมชาติ

 

กาแฟปูนาเกิดจาก คุณสนั่นได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในบริเวณบ้านตรอกแค ได้พบว่าชาวบ้านจะนำไซไปวางตามท้องนา คูนา จะมีปูมีปลาติดมาตามไซ แต่ชาวบ้านต้องการแค่ปลาไม่ได้ต้องการปูนา คุณสนั่นเลยเกิดข้อสังสัยว่าแล้วชาวบ้านจะทำอย่างไรกับปูนาที่ติดด้วย ชาวบ้านได้บอกกับคุณสนั่นว่าปูนาที่ติดมากับไซจำเป็นต้องทิ้งเพราะไม่สามารถนำไปจำหน่ายได้

คุณสนั่นจึงขอปูนามาคิดวิธีแปรรูปปูนาเพื่อไม่ให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างเสียประโยชน์ ช่วงแรกๆได้นำปูนามาแปรรูปเป็นน้ำพริกผงปูนาชนิดแห้งแบบซองสามารถพกพาได้ ส่วนต่อมาคุณสนั่นได้คิดค้นการแปรรูปเป็นกาแฟสดสูตรปูนา เป็นกาแฟสดที่มีส่วนผสมของปูนา 100% ไม่มีสารเคมีในการผลิต คุณภาพและรสชาติได้มาตราฐานอย่างแน่นอน คุณสนั่นฝากแอดมินมาการันตีค่ะ

 

จากที่แอดมินได้ลองชิมกาแฟปูนาแล้วนะคะ สิ่งที่เด่นขึ้นมาเลยจนแอดมินตกใจคือกลิ่นของกาแฟที่หอมมาก ไม่มีกลิ่นคาวของปูนา เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจมากนะคะที่กาแฟไม่มีกลิ่นคาวของปูนา และรสชาติของกาแฟกับปูนาก็เข้ากันดี

ส่วนวิธีการทำนั้นปูจะต้องเป็นปูที่ออกไข่มาแล้วสี่รอบ โดยจะจับปูมาพักเพื่อล้างท้องก่อน 5 วัน จากนั้นให้ทานข้าวสวย 5 วัน และจากนั้นจึงนำไปทำความสะอาด และเอาส่วนที่ไม่ใช้ออก จากนั้นก็นำไปทำให้สุกแล้วนำมาคั่วกับเมล็ดกาแฟ จะมีทั้งแบบคั่วเข้มและคั่วกลาง

  ผลิตภัณฑ์กาแฟปูนา
  • แบบแก้วพร้อมดื่ม ราคา 40 บาท 
  • แบบซองสำหรับดริป 35 บาท
  • แบบถุง 200 กรัม 200 บาท

  • สบู่กาแฟปูนา ก้อนละ 35 บาท

 

และภายในตลาดใต้ต้นปาล์มริมคลองตรอกแคนี้ ยังมีโฮมสเตย์ที่สามารถเข้ามาพักเพื่อซึมซับบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติได้อีกด้วยนะคะ

ภายในจะมีร้านกาแฟปูนา สัตว์ต่างๆที่ทางคุณสนั่นเลี้ยงไว้ มีทั้งกวาง ปู ปลา ไก่และเต่า เดินชมสัตว์ภายในบริเวณตลาดใต้ต้นปาล์มไปพร้อมกับบรรยากาศดีๆ และมีของสะสมของเก่าที่คุณสนั่นนำมาเก็บไว้สะสมให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมได้ชมกันด้วยนะคะ

พอได้มาเห็นของเล่นโบราณและของเก่าๆก็นึกถึงสมัยยังเป็นเด็กเลยค่ะ แอดมินของบอกเลยค่ะว่าตลาดใต้ต้นปาล์มริมคลองตรอกแคและกาแฟปูนาเป็นสิ่งที่ทุกคนห้ามพลาดนะเมื่อมาเที่ยวที่อำเภอชะอวดแล้ว แวะชิมชมช้อป ซื้อกลับไปเป็นของฝากกันนะคะ

 

และอย่าลืมเล่าเรื่องราวของกาแฟปูนาให้คนที่เราซื้อของไปฝากได้ฟังด้วยนะคะ รับรองว่ารสชาติของกาแฟจะอร่อยมากขึ้นอีกเท่าตัวเลยค่ะ เมื่อรู้ถึงเรื่องราวของกาแฟปูนา

ชมคลิป VDO

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลโกโก้ จากสวนโกโก้ธวัชชัย ของดี อำเภอท่าศาลา

สวนโกโก้ธวัชชัย ผลิตภัณฑ์จากผลโกโก้ ของดี ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอท่าศาลาเป็นพื้นที่ที่ปลูกโกโก้เยอะที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช และถ้าหากมาเที่ยวอำเภอท่าศาลาแล้วยังไม่มีของฝากกลับไป วันนี้แอดมินก็ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากโกโก้ จากสวนโกโก้ธวัชชัยนะคะ

 

    เรามาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของสวนโกโก้ธวัชชัยกันนะคะ คุณธวัชชัย เสพย์ธรรม เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งด้านการปลูกและการหมักโกโก้โดยวิธีการโบราณจากรุ่นพ่อแม่ โดยภายในบริเวณรายล้อมไปด้วยต้นโกโก้ดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ ปี 2535 จนปัจจุบันมีการเรียนรู้เพิ่มเติมและประยุกต์ใช้วิธีการหมักทั้งแบบโบราณ และแบบใหม่ปรับเปลี่ยนจนมีเทคนิคเอกลักษณ์ของตัวเอง และกลายมาเป็นเกษตรกรที่หันมาสนใจแปรรูปโกโก้รายแรกๆ ของท่าศาลา

พิกัด 8.7717,99.92276 บ้านเลขที่ 264 หมู่ 5 ตำบล สระแก้ว อำเภอ ท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช   https://bit.ly/3swRqMl

 

    ภายในสวนจะมีต้นโกโก้ให้เห็นเป็นจำนวนมากค่ะ เป็นต้นโกโก้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี พี่จิ๋มเจ้าของสวนพาเดินชมต้นโกโก้ พร้อมพูดคุยกันถึงเรื่องโกโก้ การปลูกการดูแลการหมักและการแปรรูป สวนโกโก้ธวัชชัยแปรรูปแบบโฮมเมด ทำกันในครอบครัวตามกำลังและความสามารถของคนในครอบครัว ใช้ความใส่ใจความรักในโกโก้ทำด้วยความสุข และเมื่อแอดมินได้ลองชิมโกโก้ร้อนที่พี่จิ๋มทำให้ชิมทำให้แอดมินได้รู้สึกถึงความใส่ใจในทุกขั้นตอน และรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้นั่งดื่มโกโก้ในสวนของบ้านตัวเอง โกโก้มีกลิ่นหอมมากถึงความใส่ใจในทุกขั้นตอน และรู้สึกอบอุ่นเหมือนได้นั่งดื่มโกโก้ในสวนของบ้านตัวเอง โกโก้มีกลิ่นหอมมาก

บริเวณหน้าบ้านจะเป็นลานตากเมล็ดโกโก้ ตากเมล็ดโกโก้ให้แห้งเพื่อที่จะนำมาแปรรูปต่อไป

   

การแปรรูป

  1. โกโก้นิปส์ (Cocoa nibs) เมล็ดโกโก้ที่ผ่านการหมักและตากเรียบร้อยแล้ว สามารถนำมาคั่วหรืออบที่อุณหภูมิประมาณ 150 องศาไม่เกิน 15 นาที จะได้เมล็ดโกโก้คั่วสุก ที่เรียกว่าโกโก้นิปส์ (Coca nibs)ถือเป็นโกโก้แท้100% สามารถรับประทานเป็นของขบเคี้ยวได้ทันที
  2. เปลือกหุ้มเมล็ดโกโก้ (Cocoa brew) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากเปลือกหุ้มเหม็ดที่ผ่านการตากและคั่วแล้ว สามารถนำมาใช้ทำชาสมุนไพร ให้กลิ่นหอม
  3. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อโกโก้ (Coca liquor หรือ Coca mass) เป็นการนำเอาเมล็ดที่คั่วเรียบร้อนแล้วมาแกะหรือกะเทาะเปลือกออก จากนั้นนำมาทำการบด ด้วยครกหรือหินโม่บด จนกลายเป็นเนื้อเดียวกันได้ของเหลวที่เป็นโกโก้แท้100%สามารถนำมาเติมน้ำตาบออร์แกนิกส์ตามชอบเทลงพิมพ์กลายเป็นคราฟช็อคโกแลตหรือช็อดโกแลตโฮมเมด
  4. เนยโกโก้ (Cocoa butter) และโกโก้ผง (Cocoa powder) เกิดจากการนำเมล็ดโกโก้ที่คั่วและกะเทาะเปลือกแล้ว มาผ่านเครื่องแยกน้ำมันจะได้ผลิตภัณฑ์ส่วนที่เป็นของเหลวแยกส่วนที่เป็นน้ำมันออกมาเรียกว่าเนยโกโก้ ใช้ในส่วนผสมของอาหารและเครื่องสำอางค์ ส่วนที่เป็นเนื้อโกโก้จะกลายเป็นเนื้อสีน้ำตาลแยกออกมาจากน้ำมันนำไปผ่านการขึ้นละเอียดอีกครั้งกลายเป็นผงโกโก้นำไปเป็นส่วนประกอบของขนมต่างๆ

ผลิตภัณฑ์โกโก้โฮมเมดแบบนี้อาจจะมีรสชาติที่ต่างไปจากโกโก้หรือช็อคโกแลตที่หลายๆท่านเคยทาน แต่ถ้าหากลองเปิดใจซื้อมาลองชิมรับรองเลยค่ะ ว่าทุกท่านจะต้องติดใจไปกับรสชาติและความเป็นโฮมเมดของผลิตภัณฑ์โกโก้จากสวนธวัชชัย

เที่ยวสวนโกโก้แล้วอย่าลืมแวะขอพรไอ้ไข่วัดเจดีย์

    และเมื่อเราอิ่มกลายอิ่มท้องแล้ว ถ้าจะให้ครบจบเราต้องอิ่มใจด้วยนะคะ และสถานที่ใกล้สวนโกโก้ธวัชชัยที่จะทำให้ทุกท่านอิ่มใจพร้อมทั้งอิ่มบุญไปด้วยก็คือ วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) เป็นวัดชื่อดังที่ไม่มีใครไม่รู้จัก สายมูทั้งหลายอย่ารอช้านะคะ เริ่มเลยค่ะมาทำบุญและอาจจะขอพรหรือบนบานศาลกล่าวกับไอ้ไข่ แอบกระซิบว่าศักดิ์สิทธ์มากใครที่มาขอพรหรือบนบานส่วนมากจะได้ผลตามที่ขอ แต่หากได้รับผลตามที่ขอไว้ก็อย่าลืมกลับมาแก้บนตามที่บอกกับไอ้ไข่ไว้นะคะ และบางวันอาจจะได้ชมการแสดงมโนราห์ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามของภาคใต้ค่ะ

ชมคลิป VDO

กล้วยไข่กรอบแก้ว ของดี ของฝาก ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ ต.เกาะขันธ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

กล้วยไข่กรอบ ใครไม่มานครฯแล้วไม่ได้ลองชิมลองทานถือว่าพลาดอย่างแรง !!

หากกล่าวถึง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช หลายๆ อาจจะคิดถึง กระเป๋ากระจูด ซึ่งเป็นสินค้างานหัตกรรม สร้างอาชีพ ทำเงินให้กับชุมชนมากมายทว่า อ.ชะอวด ไม่ได้มีของดีเฉพาะผลิตภัณฑ์จากกระจูดเท่านั้น เพราะที่ ต.เกาะชันธ์ อ.ชะอวด ยังมีของดี ที่อยากเชิญชวนทุกท่านมาลองชิมลองทานกัน เรียกว่า ผู้ใหญ่ทานได้ เด็กทานดี มีประโยชน์ ซื้อกินเองก็อร่อย ซื้อเป็นของฝาก ก็โดนใจคนรับแน่นอน

 

ความเป็นมา กล้วยกรอบไข่แก้ว บ้านเกาะร้าว

คุณป้า กุศล สุกใส หรือ ป้าน้อย ประธานกลุ่มกล้วยไข่กรอบแก้วบ้านเกาะร้าว ได้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มกล้วยไข่กรอบแก้วบ้านเกาะร้าว เดิมก่อนที่จะเกิดเป็นกลุ่มกล้วยไข่กรอบแก้วบ้านเกาะร้าว เป็นกลุ่ม 60 พรรษามหาราชินี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2536  และเมื่อปี พ.ศ.2542 ได้เกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตก ทางวิสาหกิจชุมชนจึงได้มีการแจ้งให้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้น

ในครั้งนั้นได้จัดตั้งกลุ่มถั่วเคลือบน้ำตาลแต่เนื่องด้วยขาดวัตถุดิบในการผลิตสินค้าจึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้  ต่อมาในปี พ.ศ.2542 มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 20 คน ทางวิสาหกิจชุมชมจึงปรับเปลี่ยนมาทำผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากกล้วย เพราะเห็นว่าในหมู่บ้านทุกบ้านจะมีต้นกล้วย เลยเริ่มผลิตกล้วยฉาบ โดยได้ไปศึกษาดูงานจากกล้วยฉาบแม่แดง จังหวัดพัทลุง  นำมาปรับเปลี่ยนพัฒนาสูตรเป็นสูตรเฉพาะของกลุ่มกล้วยไข่กรอบแก้ว จากที่ใช้กล้วยน้ำหว้าในการทำกล้วยฉาบเลยเปลี่ยนมาใช้กล้วยไข่แทน และได้ขอ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) อย่างถูกต้องและในปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 60 คน

รางวัล และผลงาน กล้วยกรอบไข่แก้ว บ้านเกาะร้าว

  • ในปี พ.ศ.2544 ได้รับรางวัลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นอันดับ 2 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ปีพ.ศ.2545 และ ปีพ.ศ. 2562 ได้รางวัลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นอันดับ 1 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ส่วนปัจจุบันในปี พ.ศ. 2564 ก็ได้รับรางวัลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นอันดับ 2 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • อีกหลายหลากรางวัล ที่เป็นเครื่องการันตี ทั้งความสด อร่อย และสะอาด

ขั้นตอนการผลิต กล้วยกรอบไข่แก้ว บ้านเกาะร้าว

ขั้นตอนที่ 1 จะเริ่มจากการปอกเปลือกกล้วยและนำมาล้างน้ำ หลังจากนั้นตั้งให้กล้วยสะเด็ดน้ำจนแห้ง

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อกล้วยแห้งดีแล้วจึงนำมาสไลซ์เป็นแผ่นบางๆ ลงในกระทะ

ขั้นตอนที่ 3 ทอดกล้วยในกระทะ คนให้เข้ากันจนสุกทั่วทุกแผ่น

ขั้นตอนที่ 4 ตักกล้วยที่ทอดสุกแล้วขึ้นมาจุ่มน้ำตาล เมื่อจุ่มเสร็จก็นำไปทอดอีกครั้ง (หากกล้วยฉาบรสชาติปกติหรือรสชาติจืด ไม่ต้องนำกล้วยไปจุ่มน้ำตาล สามารถทอดจนสุกและทำตามขั้นตอนต่อไปได้เลย)

ขั้นตอนที่5 ตักกล้วยที่ทอดจนสุกแล้วขึ้นมาตั้งและพักไว้ให้เย็น หลังจากนั้นนำมาแพ๊คใส่ถุง เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำกล้วยไข่กรอบแก้ว

 

เห็นวิธีการทำกันแล้วเริ่มน้ำลายไหลกันแล้วใช่ไหมคะ ขนาดแอดมินได้ชิมกล้วยไข่ฉาบของคุณป้า ก็ยังติดใจจนต้องซื้อกลับมากินเพิ่มเลยค่ะ กล้วยไข่ฉาบสไลซ์แผ่นพอดีคำ น้ำตาลที่เคลือบอยู่มีรสชาติที่พอดีไม่หวานมาก บวกกับความมันของกล้วยไข่ กัดชิมคำแรกคือทั้งกรอบและรสชาติดี กินเพลินกินมันส์จนหยุดไม่อยู่เลย นึกงถึงภาพนั่งทำงาน นั่งเรียนออนไลน์ ดูซีรี่ย์ แล้วหยิบกล้วยไข่กรอบแก้ว เข้าปากไป ซิลเลย

กล้วยไข่กรอบแล้วมีให้เลือกหลายรสตามความชอบ ไม่ว่าจะเป็นรสดั้งเดิม รสหวาน รสเค็ม รสปาปริก้า ราคาของกล้วยไข่กรอบแก้วก็ไม่ได้แพงเลยนะคะ มีทั้ง ขนาดถุงเล็ก 20 บาท ขนาดถุงกลาง 60 บาท และขนาด 1 กิโลกรัมราคา 120 บาท เหมาะมากๆ เลยค่ะ สำหรับจะซื้อไปเป็นของฝาก หรือหากใครชอบเผือก ที่นี่เขาก็มีเผือกกรอบแก้วให้ได้ลอง รับรองถูกใจสายเผือกเช่นกันอย่างแน่นอนจ้า

 

คุณป้ายังฝากมาบอกอีกนะคะว่า ถ้าทุกท่านมีโอกาสได้มาเที่ยวที่อำเภอชะอวด เชิญชวนแวะมาซื้อกล้วยไข่กรอบแก้วไปเป็นของฝากกันเยอะๆนะคะ คุณป้าใจดีมาก มีแถมกล้วยไข่กรอบแก้วไปให้กับทุกท่านทุกออเดอร์ แบบว่าคุ้มค่าแน่นอนค่ะ

แวะอุดหนุน กล้วยกรอบไข่แก้ว บ้านเกาะร้าวแล้วแนะนำมานั่งทานกันต่อที่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส

อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่อยากให้ทุกท่านพลาดถ้าหากได้มาเที่ยวอำเภอชะอวด นั่นก็คือเข้าไปเที่ยว นั่งกินลมชมวิวพระอาทิตย์ตกที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใสมีวิวและทัศนียภาพที่สวยงามมากนะคะ โอบล้อมไปด้วยขุนเขา มีจุดที่ทุกท่านสามารถจอดรถไปนั่งปิกนิกนำอาหารและเครื่องดื่มไปนั่งทานได้ หรือจะนำกล้วยไข่กรอบแก้วไปนั่งทานไปพร้อมๆกับการชมวิว รับรองเลยค่ะว่าทุกท่านจะได้รับทั้งความอิ่มกายและอิ่มใจไปพร้อมๆกันแน่นอน อย่าลืมแวะมา ชม ชิม ช้อปกันที่อำเภอชะอวดกันเยอะๆนะคะ